หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
มะเร็งลำไส้ใหญ่
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


อาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่ :

 
•
มีเลือดปนมาในอุจจาระ
 
•
การมีเลือดออกทางทวารหนัก
 
•
อุจจาระมีขนาดเล็กลง
 
•
ปวดถ่ายอุจจาระบ่อยๆ อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
 
•
อุปนิสัยการขับถ่ายเปลี่ยนไป เช่น เคยถ่ายอุจจาระทุกวันก็เปลี่ยนไปมีอาการท้องผูก
 
•
อาการท้องผูกสลับท้องเสีย
 
•
ลำไสอักเสบเรื้อรัง
 
•
ปวดมวนท้อง
 
•
อาจคลำได้ก้อนในช่องท้อง ซึ่งมักเป็นทางด้านขวาตอนล่าง
 
•
อาการปวดเบ่งบริเวณทวารหนักคล้าย ปวดอุจจาระตลอดเวลา
 
•
น้ำหนักลดโดยไม่ทราบเหตุ
 
•
อาจมีอาการซีด อ่อนเพลีย และน้ำหนักตัวลด
 
•
ผู้ป่วยบางรายอาจมาด้วยอาการของลำไส้อุดตัน คือ ปวดท้องอย่างรุนแรงคล้ายลำไส้ถูกบิด แต่เป็นอยู่เพียงชั่วครู่ แล้วก็ทุเลาไป และกลับเป็นใหม่อีกร่วมกับการไม่ถ่ายอุจจาระ ไม่ผายลม เป็นต้น
 
•
นอกจากนี้ยังพบว่า อาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ก้อนมะเร็งตั้งอยู่ เช่น
-

มะเร็งที่บริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนต้น ซึ่งอุจจาระยังเหลวมากนั้น อาการจะปรากฏในรูปของเลือดออก โลหิตจาง อ่อนเพลีย ใจสั่น หายใจลำบาก
-
มะเร็งที่ลำไส้ใหญ่ส่วนขวางอาจปรากฏอาการปวดท้อง ท้องอืด เลือดออก
-

มะเร็งที่สำไส้ใหญ่ส่วนปลาย และลำไส้ตรงอาจปรากฏอาการแสดงของอุจจาระ ที่มีก้อนเล็กลง การขับถ่ายไม่สม่ำเสมอ ปวดท้องถ่าย
มะเร็งของลำไส้ใหญ่ทุกส่วนมีโอกาสปล่อยเลือดออกมาทั้งเลือดสดๆ หรือเลือดเก่า จึงขอให้สังเกตดู หากมีลักษณะสีของอุจจาระเปลี่ยนไปขอให้ปรึกษาคุณหมอทันที

ตุของการเกิดมะเร็งลำไส้

 
1.
การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารต่ำหรืออาหารที่มีปริมาณ Calcium น้อย ทำให้เกิดอาการท้องผูก/ท้องเสียบ่อยๆและเป็นเวลานาน
 
2.
เกิดก้อนเนื้องอกขึ้นในระบบทางเดินอาหารโดยเฉพาะที่บริเวณลำไส้ ซึ่งอาจเกิดจากปฏิกิริยา Oxidation ได้
 
3.
อาการที่สามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม ซึ่งผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้มาก่อนก็จะมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งชนิดนี้ได้สูงขึ้น
 
4.
รับประทานอาหารที่มีไขมันในปริมาณสูง
 
5.
มีการรับสารพิษเข้าสู่ร่างกายและไปตกค้างที่ลำไส้
 
6.
เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณลำไส้เกิดการเสื่อมสภาพ สูญเสียความยืดหยุ่นไป ทำให้เลือดไม่สามารถเข้าไปเลี้ยงที่บริเวณลำไส้ได้อย่างเพียงพอ

การตรวจเพื่อการวินิจฉัย สามารถทำได้ง่ายๆ โดยการตรวจอุจจาระ เพื่อดูว่ามีเลือดในอุจจาระ หรือไม่ ซึ่งในระยะแรกอาจจะมีปริมาณน้อยจนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และหากรอยโรคอยู่ใกล้ทวาร หนัก อาจตรวจพบได้โดยการใช้นิ้วสอดเข้าตรวจทางทวารหนัก เมื่อพบเลือดในอุจจาระ หรือสงสัยในอาการ จึง ตรวจเอ๊กซเรย์ลำไส้ใหญ่ด้วยการสวนแป้งและการส่องกล้องเข้าทางทวารหนัก เพื่อตรวจและตัดชิ้นเนื้อ การตรวจเลือดดูระดับโปรตีนชนิดหนึ่งที่สร้างโดยเซลล์มะเร็ง คือ CEA (Carcino-embryonic Antigen) จะมีส่วนช่วยในการวินิจฉัยได้มาก

การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่

การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ทำได้หลายวิธี เช่น ผ่าตัด เคมีบำบัด รังสีรักษา ขึ้นกับระยะของโรค ตำแน่ง ขนาดของก้อนมะเร็ง และสภาพความแข็งแรงของผู้ป่วย ในปัจจุบันหลังจากมีการศึกษาค้นพบหน่วยพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ จีงได้มีการพัฒนาวิธีการตรวจเพื่อจะบอกว่าผู้ใดมีความเสี่ยงทางพันธุกรรมสูงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่มีวิธีหลักอยู่ 3 วิธี ได้แก่การผ่าตัดเอาเนื้อร้ายออก การใช้ยาไปทำลายเซลล์มะเร็ง และการทำลายเซลล์มะเร็งในตำแหน่งต่างๆ ด้วยการฉายรังสี การเลือกวิธีในการรักษานั้นขึ้นอยู่กับว่าเป็นมะเร็งมากน้อยเพียงใด มีการลุกลาม หรือแพร่กระจายหรือไม่ และสภาพร่างกายของผู้ป่วยขณะนั้นเหมาะสมกับวิธีใดมากที่สุด

การแบ่งระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับวางแผนการรักษา หลังจากวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่แล้ว แพทย์จะแบ่งระยะของโรค โดยแบ่งตามการแพร่กระจายของโรค ระยะที่ 0, 1, 2, 3, 4 ดังนี้

Stage 0 โรคมะเร็งในระยะเริ่มต้น มะเร็งอยู่เฉพาะผิวของลำไส้
Stage 1 มะเร็งอยู่เฉพาะผนังลำไส้ ยังไม่แพร่ออกนอกลำไส้
Stage 2 มะเร็งแพร่ออกนอกลำไส้ แต่ยังแพร่ไม่ถึงต่อมน้ำเหลือง
Stage 3 มะเร็งแพร่ไปต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง แต่ยังไม่แพร่ไปยังอวัยวะอื่นๆ
Stage 4 มะเร็งแพร่ไปอวัยวะอื่นโดยมากไปยังตับและปอด
Recurrent เป็นมะเร็งซ้ำหลังจากการรักษา

ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 3, 4 ถือว่าเป็นระยะโรคลุกลาม ซึ่งจากการศึกษาวิจัยพบว่าผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร การผ่าตัดอาจตัดก้อนได้ไม่หมด โอกาสเกิดเป็นซ้ำค่อนข้างสูง แต่จากการศึกษาวิจัยพบว่ามีผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งที่ตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดภายหลังการผ่าตัดดีมาก แม้ว่าจะอยู่ในระยะโรคลุกลามแล้วก็ตาม โดยสูตรยาที่ใช้ประกอบด้วย irinotecan เป็นหลัก อาจใช้เดี่ยวๆ หรือร่วมกับ 5-flourouracil (5-FU)

ปัญหาคือก่อนหน้านี้ แพทย์ไม่สามารถทราบล่วงหน้าว่าผู้ป่วยรายใดอยู่ในกลุ่มที่จะได้ผลตอบสนองต่อเคมีบำบัดหลังผ่าตัด รายใดอยู่ในกลุ่มที่ไม่ได้ผล จึงทำให้เกิดเป็นความยากลำบากในการตัดสินใจวางแผนการรักษาผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่โรคลุกลาม ปัจจุบันเกิดความรู้ใหม่พบว่าสิ่งที่ช่วยทำนายผลการรักษาในกรณีดังกล่าวได้คือปริมาณดีเอ็นเอในเซลล์มะเร็ง

ปริมาณดีเอ็นเอในเซลล์มะเร็ง เรียกว่า DNA content พบว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะลุกลามที่มีดีเอ็นเอเป็นชนิด tetraploid, peri-tetraploid และ multiploid tumours จะตอบสนองดีมากต่อยาเคมีบำบัดสูตร irinotecan + 5-FU ซึ่งให้ยาหลังผ่าตัด ซึ่งผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้จะเกิดผลอย่างใหญ่หลวงต่อการเลือกผู้ป่วยที่แพทย์วางแผนล่วงหน้าได้ว่า จะเป็นกลุ่มที่ตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดหลังผ่าตัด

ในทางกลับกัน ด้วยแนวคิดและเทคนิกการตรวจ DNA content ของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ ก็จะช่วยให้แพทย์ทราบว่าผู้ป่วยรายใดจะไม่ตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดหลังผ่าตัด และเลือกการรักษาวิธีอื่นแทนซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อความสำเร็จในการรักษาโรคดังกล่าว เช่นเลือกใช้วิธีฉายแสงเป็นต้น ผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดสูตร irinotecan + 5-FU ได้แก่ ผู้ที่มีดีเอ็นเอเป็นชนิด diploid, peri-diploid และ aneuploid tumours

การป้องกันหรือการลดความเสี่ยง

แม้จะยังไม่มีวิธีกำจัดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ 100% แต่ก็มีวิธีลดความเสี่ยงลงได้ เช่น บริโภคอาหารที่อุดมด้วยผักและผลไม้เพื่อให้มีเส้นใยหรือกากอาหารมากขึ้น อุจจาระจะมีขนาดโตขึ้น จนขับถ่ายง่ายขึ้น ไม่คั่งค้างในลำไส้ใหญ่นานเกินไป จนปล่อยสารเคมีที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการกลายพันธุ์ของเซลล์เยื่อบุลำไส้ใหญ่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะได้ทั้งการลดความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ และยังช่วยลดความอ้วน การใช้ฮอร์โมนเสริมในหญิงวัยหมดประจำเดือน ปัจจุบันนี้วงการแพทย์แนะนำให้คนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปปรึกษาคุณหมอ เพื่อช่วยพิจารณาความเสี่ยงแล้วให้รับการส่องกล้องตรวจดูลำไส้ใหญ่ปีละครั้ง เพื่อตรวจคัดว่ามีมะเร็ง รือโพลิป หรือไม่เพื่อจะได้วินิจฉัยและรักษาให้หายขาดได้แต่เนิ่นๆ

 
       
    แหล่งข้อมูล : www.bangkokhealth.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
การตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มแรก
 
ต้านมะเร็งลำไส้ดัวยเนื้อไก่
 
การป้องกัน และลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง
 
กินเป็น อยู่เป็น ไม่เป็นมะเร็ง
 
อาหาร โภชนาการ กับมะเร็ง
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.