เสริมอาหาร...ป้องกันมะเร็ง |
---|
ถึงการทำความรู้จักอาหารเสริมช่วยป้องกันเจ้าเนื้อร้ายนักร้ายหนานี้ ว่ามีตัวไหนน่าสนใจกันบ้าง แคโรทีน (Carotenes) แคโรทีน เป็นแร่ธาตุที่พบได้ในผักผลไม้ที่มีสีแดง ส้ม เขียวเข้ม และเหลือง มีส่วนช่วยป้องกันมะเร็งในส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น มะเร็งปากมดลูก รังไข่ ปอด ต่อมลูกหมาก ลำไส้ หลอดอาหาร เบตาแคโรทีนซึ่งเป็นหน่วยย่อยของแคโรทีนนั้น จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยการกระตุ้นการเพิ่มปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งทำหน้าที่ในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมในร่างกายรวมทั้งเซลล์มะเร็ง แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยแคโรทีน ได้แก่ มันฝรั่งหวาน ไข่ แอปริคอท ส้ม สไปรูลิน่า แครอท มะเขือเทส แคโรทีนเป็นแร่ธาตุที่ไม่มีอันตรายต่อร่างกาย ไม่ว่าจะบริโภคในปริมาณที่มากเพียงใดก็ตาม วิตามินเอ วิตามินเอ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทำหน้าที่ยับยั้งการผลิตฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งมีผลต่อการเติบโตของเซลล์มะเร็ง และเสริมสร้างประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย วิตามินเอนั้นมีประโยชน์ในการป้องกันโรคมะเร็งทุกชนิด ยกตัวอย่างเช่น มะเร็งปอดในผู้ที่สูบบุหรี่ซึ่งมีการตรวจพบว่าจะมีระดับวิตามินเอในร่างกายน้อยกว่าปกติ เมื่อปริมาณวิตามินเอในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งจะลดลง โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม มะเร็งในช่องปาก มะเร็งในระบบเลือด และมะเร็งกล่องเสียง แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ ได้แก่ เนย ตับ ครีม ไข่ ไขมันสัตว์ และน้ำมันปลา อย่างไรก็ตามไม่มีการระบุแน่ถึงปริมาณการบริโภควิตามินเอที่เหมาะสมต่อร่างกาย ซึ่งการบริโภคไขมันสัตว์ในปริมาณที่มากเกินไปนั้น อาจจะเพิ่มโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคชนิดอื่นได้ นักโภชนาการแนะนำว่าน้ำมันตับปลา 1 ช้อนชา ต่อวันนั้น สามารถให้ปริมาณวิตามินเอที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และควรหลีกเลี่ยงการบริโภควิตามินเอสังเคราะห์ เพราะอาจจะเป็นโอกาสเสี่ยงของการเกิดความผิดปกติสำหรับทารกในครรภ์ วิตามินซี วิตามินซีนั้นมีผลต่อการป้องกันโรคมะเร็งที่เกิดจากการทำงานของอนุมูลอิสระ เพิ่มปริมาณการสังเคราะห์คอลลาเจนในร่างกาย ยับยั้งการกลายพันธุ์ของพันธุกรรม และการสังเคราะห์โปรตีนที่ผิดปกติในร่างกาย จนอาจจะนำไปสู่การสร้างเซลล์มะเร็ง วิตามินซีนั้น ช่วยป้องกันโรคมะเร็งหลอดอาหาร ในช่องปาก กระเพาะอาหาร ปอด ลำไส้ รวมทั้งยังป้องกันการสร้างสารไนไตรท์ (Nitrites) จากเนื้อสัตว์ เช่น เบคอน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในร่างกาย ปริมาณวิตามินซีที่ร่างกายต้องการเฉลี่ย 5-8 กรัมต่อวัน สำหรับผู้ใหญ่ และ 2-3 กรัม สำหรับเด็ก อย่างไรก็ตามการบริโภควิตามินซีในปริมาณที่มากเกินไปนั้น อาจก่อให้เกิดอันตรายกับร่างกายได้ โดยอาหารที่เป็นแหล่งวิตามินซี ได้แก่ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ส้ม มะนาว ฝรั่ง และกะหล่ำปลี วิตามินอี วิตามินอี ช่วยป้องกันการสร้างอนุมูลอิสระจากกรดไขมันไม่อิ่มตัวในร่างกาย ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย และทำลายเนื้องอกที่อาจจะกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว วิตามินอีจัดได้ว่าเป็นวิตามินที่มีประสิทธิภาพดีในการป้องกันโรคมะเร็ง นอกจากนั้นแล้วยังช่วยป้องกันโรคหัวใจและโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินอี ได้แก่ ข้าวสาลี พืชตระกูลถั่ว โดยปริมาณที่เหมาะสมต่อการบริโภคได้แก่ 200-400 หน่วย (IU) เซเลเนียม (Selenium) เซเลเนียม เป็นแร่ธาตุที่มีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดยผู้ป่วยโรคนี้จะมีระดับเซเลเนียมในร่างกายต่ำกว่าคนปกติ แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยเซเลเนียม ได้แก่ ข้าวสาลี หอยนางรม ปลาทูน่า และเนย อย่างไรก็ตาม การบริโภคเซเลเนียมในปริมาณที่มากเกินไปอาจจะเป็นโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ โดยปริมาณที่เหมาะสมต่อการบริโภค 100 ไมโครกรัมต่อวัน |
|||||||||||||||||||||||||||
แหล่งข้อมูล : นิตยสาร Alternative Medicine | |||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved. |