หลายพื้นที่ ที่หลายคนอาจจะกล่าวได้ว่ามีประวัติ หรือมีเรื่องราวที่เล่าขาน ต่อๆ กันมา แต่ถ้าย้อนไปเมื่อ เกือบ 30 ปีก่อน พุเข็ม ก็เคยเป็น พื้นที่ที่เคยใช้ในการหลบภัย จากเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์ทางการเมืองของไทย
ตามที่ได้รับคำบอกเล่าจาก ผู้ที่เคยเข้าร่วมในเหตุการณ์ ครั้งนั้น เล่าให้ฟัง ท่ามกลางบรรยากาศในพื้นที่จริง ปัจจุบันถึงแม้ว่าพุเข็มจะกลายเป็นหมู่บ้านแล้ว แต่ ก็ยังถูกซ่อนตัวไว้หลังแนวเขื่อนแก่งกระจาน หมู่บ้านที่ถูกล้อมรอบไปด้วย เกาะแก่งน้อยใหญ่ จนจะเรียกได้ว่า ด้านหน้าติดผืนน้ำอันกว้างใหญ่ ด้านหลังติดกับแนวเขาที่ กั้นระหว่างพรมแดนไทยกับพม่า
ครั้งแรกที่ได้มาเยือนหมู่บ้านนี้ โดยมีพี่ฝน ซึ่งเดิมทีในตอนนั้น พี่ฝน เป็นเจ้าหน้าที่ของมูลนิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ ที่ทำงานร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ ครั้งนั้นทำให้ได้เห็นอะไรต่างจากที่ที่เคยสัมผัสมา เป็นครั้งแรกที่ได้รู้สึกจริงๆ ว่า พระอาทิตย์อัสดงสวยงามแค่ไหน
เมื่อดวงอาทิตย์ทอแสงสุดท้ายก่อนจะลับขอบฟ้า ในขณะที่แล่นเรือลัดเลาะเกาะแก่งน้อยใหญ่ โดยมีสาระถีอายุประมาณ 12 ขวบเท่านั้น แต่ความสามารถในการบังคับเรือมีมากเกินตัวเหลือคณานับ ในเวลาชั่วอึดใจ ท้องฟ้า ผืนน้ำ เกาะแก่ง และภูเขา ก็ถูกยอมให้กลายเป็นสีแดงเพลิง สร้างบรรยากาศให้อิ่มเอมใจยิ่งนัก
ล่าสุดหมู่บ้านพุเข็ม ได้รับการสนับสนุนให้จัด การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ (แนวคิดนี้รู้สึกว่าจะเป็นโครงการที่พี่ฝน มูลนิธิคุ้มครองฯ ส่งเสริมอยู่)
รายละเอียดเกี่ยวกับหมู่บ้านโฮมสเตย์ พุเข็ม
|
ที่ตั้ง : หมู่บ้านพุเข็ม อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี |
|
การเดินทาง : จากตัวจังหวัดเพชรบุรี เดินทางไปยังเส้นทางที่ออกไปประจวบ ฯ จาก อ.เมือง จะเจอแยกที่จะเข้าแก่งกระจาน ที่ ต. ท่ายาง (ห่างจากตัวจังหวัด 15 กม.) เลี้ยวขวาจะไปเขื่อนแก่งกระจาน และจะสามารถเข้าพื้นที่ได้ 2 วิธีคือ
ทางรถ ต้องใช้รถส่วนตัว หรือ โบกรถชาวบ้าน จะมี ทางแยกก่อนจะเข้าแก่งกระจาน ประมาณ 4-5 กม. สังเกตป้ายดีๆ (ถ้าโบกจะใช้เวลารอนานสมควรเนื่องจากจะไม่ค่อยมีรถวิ่งเข้าออกบ่อยนัก แต่แถวนี้โบกง่าย เพราะที่นี้เคยชินกับการโบกรถพอสมควร) ระยะทางประมาณ 30 กว่ากิโลเมตร
ทางเรือ นำรถไปจอดที่สันเขื่อนบริเวณร้านอาหารจะมีเรือให้บริการนำเที่ยว แต่ถ้ารู้จักคนในพุเข็ม โทรให้ออกมารับจะประหยัดขึ้นเยอะ นั่งเรือจากสันเขื่อน ประมาณ 5-7 กิโลเมตร
|
|
สิ่งอำนวยความสะดวก เรื่องอาหารไม่ต้องห่วง แต่ถ้าเรื่องไฟฟ้า จะเป็นเครื่องปั่นไฟในแต่ละบ้าน ปกติจะปั่นไม่เกิน 3 ทุ่มก็จะปิด น้ำดื่ืมเป็นน้ำฝน น้ำใช้ตักเอาที่หน้าบ้าน หลายบ้านจะมีเสื้อชูชีพ และทุกบ้านจะมีเบ็ดแบบชักรอก จำนวนมาก เดินทางโดยเรือเป็นหลัก รับคลื่นโทรศัพท์ได้
|
|
ค่าใช้จ่าย ขึ้นอยู่กับบ้านในแต่ละหลัง มีราคาตายตัวแต่ยืดหยุ่นได้ เพราะชาวบ้านใจดีเกือบทุกคน แต่ที่สำคัญ ค่าน้ำมันเรือในการนั่งเรือเที่ยวจะ ตกอยู่ประมาณวันละพันบ้าน (นั่งได้ 4-5 คน) แต่ถ้าเป็นพวกที่ชอบแบ๊กแพ็ค โบกรถ ไปกันเป็นกลุ่ม ไม่น่าจะเกิน 800 บาท/คน (ขึ้นอยู่กับสนิทกับคนในพื้นที่แค่ไหนด้วย)
|
|
คำแนะนำ ถ้ามีรถแนะนำให้ไปต่อเรือจะง่ายกว่า แต่ถ้าเดินทางโดยรถประจำทาง ควรเริ่มโบกรถจากที่ ต.ท่ายาง จะถึงเร็วกว่า เพราะรถโดยสารเข้าแก่งจะมีน้อยและวิ่งช้ามาก ๆ แล้วไปต่อเรือ แต่ตอนกลับจะสนุก ถ้าโชคดี อย่างผม โบกรถรวดเดียวถึงกรุงเทพเลย (ควรเป็นวันกลับวันอาทิตย์ เพราะ รถจากกรุงเทพจะมาเที่ยวเขื่อนเยอะหน่อย)
|
|