หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
สาว 6 อาชีพ กับเส้นเลือดขอด
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


เส้นเลือดขอด (Varicose Veins) หรือ Spider Vein เป็นหนึ่งในปัญหาที่ทำให้ผู้หญิงกลุ้มใจ แถมยังมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชาย 3 เท่าเลยทีเดียว!

เส้นเลือดขอดมักเกิดตามผิวของขา ตั้งแต่บริเวณตาตุ่มขึ้นไปจนถึงขาหนีบด้านใน พบบ่อยบริเวณน่อง โดยเฉพาะกับผู้ที่ต้องใช้ขารับน้ำหนักตัวมาก คนอ้วน หญิงตั้งครรภ์ คนที่ต้องยกของหนักเป็นประจำ หรือคนที่ต้องยืนนานๆ เกิดเมื่อถึงวัยชรา เกิดจากกรรมพันธุ์ มีความผิดปกติของหลอดเลือดดำ-แดงที่ขา อักเสบอุดตัน หรือบางคนโชคไม่ดีอาจมีก้อนเนื้องอกในช่องท้อง หรืออุ้งเชิงกรานไปกดหลอดเลือดดำ เป็นต้น

สาเหตุที่ทำให้เกิดเส้นเลือดขอด ดูเหมือนเส้นเลือดโป่งพองเห็นเป็นสีคล้ำเขียว-แดง และมีความยาวคดเคี้ยวขยุกขยิก เกิดจากการคั่งของเลือดในเส้นเลือดดำบริเวณขา ที่ปกติจะถูกบีบให้ไหลขึ้นสู่หัวใจ โดยอาศัยแรงบีบตัวของกล้ามเนื้อบริเวณขา ภายในหลอดเลือดดำจะมีลิ้นเล็กๆ อยู่ภายในๆ คอยกั้นเป็นช่วงๆ ไม่ให้เลือดย้อนกลับไปที่เท้า แต่เมื่อระบบไหลเวียนของเลือดทำงานไม่สะดวก ทำให้หลอดเลือดของขาขยายตัวกว้างขึ้น พลอยดึงให้ลิ้นถ่างออก เมื่อลิ้นไม่อาจปิดได้สนิท เลือดก็ทะลักไหลย้อนลงมาคั่งอยู่ในหลอดเลือดดำของขาบริเวณใกล้ผิวหนัง โดยอาการของเส้นเลือดขอดมีตั้งแต่เป็นน้อยๆ ไปจนเรียกว่าระยะรุนแรง คือผิวหนังบริเวณที่มีเส้นเลือดขอด แตกเป็นแผลอักเสบเรื้อรังมีน้ำเหลือง รักษาหายยาก และอาจมีเลือดออกรุนแรง

และหากจะพิจารณาถึงอาชีพของผู้หญิง ที่เสี่ยงเกิดเส้นเลือดขอดก็มักเป็น คุณครู นางพยาบาล แอร์โฮสเตส พนักงานขายในห้างสรรพสินค้า พนักงานเก็บค่าโดยสารรถประจำทาง และสาวออฟฟิศ ซึ่งด้วยหน้าที่การงานมีรายละเอียด ทำให้เข้าข่ายเสี่ยงดังนี้

 
•
คุณครหรือที่เราเปรียบเทียบว่าเป็น “เรือจ้าง” เป็นอาชีพที่ต้องใช้ทักษะทางด้านสมอง กายและใจไปพร้อมๆ กัน นั่นคือการพูด-การเขียนอธิบายและถ่ายทอดความรู้ให้ลูกศิษย์ ต้องยืนสอนหน้าชั้นเป็นเวลาติดต่อกันหลายชั่วโมง ซึ่งอาชีพครูบ้านเราต้องใส่ชุดฟอร์มที่ทางโรงเรียนจัดให้ หรือไม่ก็ต้องแต่งกายเรียบร้อย ใส่ถุงน่อง และรองเท้าส้นสูง อันเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดเส้นเลือดขอดได้ง่าย
 
•
นางพยาบาล เป็นวิชาชีพที่ต้องใช้ทักษะการบริการทางการแพทย์ไปพร้อมๆ กับใจที่รักการบริการ ความรับผิดชอบของนางพยาบาลบ้านเรานั้น มีตั้งแต่การเป็นผู้ช่วยแพทย์ระหว่างการตรวจรักษา การเดินดูแลพยาบาคนป่วย การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย งานเดินเอกสาร ฯลฯ ดังนั้นอาชีพนี้ จึงต้องอาศัยความอดทนและคล่องตัวสูง ทำให้เท้าต้องรับน้ำหนักตัวตลอดวัน ดังนั้น จะเห็นได้ว่านางพยาบาลหลายคนใส่ผ้ายืดหรือ support รัดน่อง เพื่อป้องกันไว้ก่อน
 
•
แอร์โฮสเตส เป็นอาชีพหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากจากสาวๆ ในปัจจุบัน เพราะแรงจูงใจในเรื่องของค่าตอบแทน และโอกาสท่องเที่ยว แต่อาชีพนางฟ้าก็ต้องแลกกับการยืนและเดินนานๆ เพื่อดูแลผู้โดยสารตลอดชั่วโมงบิน และที่สำคัญยังต้องเผชิญกับภาวะความดันทางอากาศ จากการขึ้น-ลงเครื่องบินเป็นประจำ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้เกิดเส้นเลือดขอดมากกว่าอาชีพอื่นๆ ทางป้องกันที่ดีที่สุด คือการเปลี่ยนรองเท้าส้นเตี้ย ขณะบริการเสิร์ฟอาหารแก่ผู้โดยสาร หมั่นเดินไปมาเพื่อเพิ่มระบบหมุนเวียนโลหิต และควรใส่ถุงน่องที่รัดและกระชับใต้เข่า
 
•
พนักงานขายในห้างสรรพสินค้า / พนักงานต้อนรับ การยืนเรียกได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของอาชีพนี้ก็ว่าได้ เนื่องจากการยืน หมายถึง ความพร้อมและความเต็มใจของพนักงานที่จะให้บริการ เพื่อสร้างความประทับใจแก่ลูกค้า โดยเฉลี่ยแล้วอาจจะต้องยืนติดต่อกัน ประมาณ 6-8 ชั่วโมงเลยทีเดียว!
 
•
พนักงานเก็บค่าโดยสารรถประจำทาง นอกจากจะต้องสูดดมควันจากท่อไอเสีย และอยู่ในสภาพที่มีคนแออัดตลอดเวลา ก็ยังต้องเดินและยืนเก็บค่าโดยสารตลอดสายครั้งละหลายชั่วโมง แถมยังต้องทรงตัวให้ดีเมื่อยามรถจอดหรือเบรกอีกต่างหาก
 
•
สาวออฟฟิศ ฟังดูแล้วเป็นอาชีพที่เสี่ยงเป็นเส้นเลือดขอดน้อยที่สุด แต่คุณทราบหรือไม่ว่า การที่นั่งโต๊ะนานๆ ด้วยการนั่งไขว่ห้างนี้เอง เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดเส้นเลือดขอด หรือสาวออฟฟิศบางคนชะล่าใจ คิดว่าตนเองไม่ต้องยืนเป็นเวลานานๆ ก็ใส่ร้องเท้าส้นสูงรับกับกระแสแฟชั่น แต่กลับลืมไปว่าบางครั้งก็ต้องเดินไปมา เพื่อติดต่อเอกสารหรือฝ่ายต่างๆ ทำให้เกิดเส้นเลือดขอดแบบไม่รู้ตัวก็มี

ทั้งนี้ หากว่าคุณมีเส้นเลือดขอด ก็อย่าเพิ่งตระหนก เพราะหากคุณไม่มีอาการปวดหรือบวมร่วม ก็อาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา เพียงแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ก็ป้องกันและบรรเทาได้ หรือสำหรับคนที่มีอาการปวด ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะเป็นมากจนรักษาไม่ได้ เพราะปัจจุบันเรามีการรักษาแบบไม่ผ่าตัดและผ่าตัด ที่เหมาะต่ออาการของแต่ละคน

วิธีป้องกันการเกิดเส้นเลือดขอด

 
•
ถ้าคุณเป็นคนอ้วนควรลดน้ำหนักเป็นอันดับแรก เพื่อลดแรงกดน้ำหนักลงที่เท้าและขา
 
•
หลีกเลี่ยงการยืน หรือการนั่งเฉยๆ หรือนั่งไขว่ขาเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อไม่บีบตัวไล่เลือด ในกรณีที่อาชีพการงานบังคับ ต้องอาศัยการออกกำลังกายผ่อนคลายกล้ามเนื้อน่อง และขา โดยการเขย่งปลายเท้าขึ้นและลง หรือการบีบและคลายนิ้วเท้าทุกครึ่งชั่วโมง และพอถึงช่วงที่ได้นั่งพัก ให้ถอดรองเท้าส้นสูงออก นั่งลงบนเก้าอี้ หลังตรงและยกขาขึ้นหนึ่งข้างให้สูงระดับสะโพก และหมุนข้อเท้าเป็นวงกลมไปมา จากนั้นให้งุ้มเท้าชี้ขึ้นและลง จากนั้นทำสลับอีกข้าง
 
•
หลีกเลี่ยงการใส่ถุงเท้ายาวหรือถุงน่องที่รัดเหนือเข่า ซึ่งทำให้ระบบหมุนเวียนเลือดไหลไม่สะดวก ในกรณีที่จำเป็นต้องสวมถุงเท้าหรือถุงน่อง ควรเลือกเนื้อผ้าที่มีความยืดหยุ่น และเลือกแบบที่ขอบถุงเท้าหรือถุงน่อง รัดห่างใต้เข่าประมาณ 2 นิ้ว

การรักษาแบบไม่ผ่าตัด

ส่วนใหญ่แพทย์แนะนำเพื่อบรรเทาอาการปวด บวม มากกว่าเรื่องของความสวยงาม ซึ่งในกรณีที่เป็นเส้นเลือดขอดไม่มาก สามารถใช้ครีมนวดรักษาหรือบรรเทาได้ แต่กรณีที่มีอาการปวด แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำที่ขอด เพื่อสลายหลอดเลือดที่แข็งตัวและตีบตัน ให้ไหลเวียนไปสู่หลอดเลือดอื่นบริเวณรอบๆ ได้ แต่ก็ไม่ใช่วิธีรักษาที่หายขาดภายในครั้งเดียว อาจต้องฉีดซ้ำหลายครั้งหาก เป็นมาก และไม่อาจรับประกันได้ว่าจะไม่เกิดขึ้นอีก โดยหลังการรักษาจำเป็นต้องสวมผ้ารัดหรือถุงน่อง เพื่อบีบให้ผนังหลอดเลือด กระชับ จนกว่าบริเวณที่ฉีดยาจะบวมน้อยลง และเวลานอนพักต้องใช้หมอนหนุน ยกระดับเข่าให้สูงกว่าสะโพก และปลายเท้าสูงกว่าระดับเข่า

การรักษาแบบผ่าตัด

เป็นการผ่าตัดในกรณีที่เส้นเลือดขอดเกิดภาวะอุดตันภายในหลอดเลือด และอาจส่งผลอันตรายต่ออวัยวะอื่นๆ โดยแพทย์จะให้ยาชาก่อนการผ่าตัด และใช้เครื่องมือเข้าไปผูกเส้นเลือดที่ขอด แล้วดึงหลอดเลือดดำที่ขอดออกเป็นบางส่วน หรือการผ่าดึงหลอดเลือดดำที่ขอดทั้งเส้น โดยหลังการผ่าตัดจะมีอาการเท้าบวม มีเลือดออกหรือเจ็บแผล และจำเป็นต้องใส่ผ้ารัดหรือถุงน่องพยุงต่อประมาณ 6 ถึง 8 สัปดาห์

การรักษาเส้นเลือดขอดไม่ว่าจะวิธีใดก็ตาม ไม่สามารถรับประกันว่าจะไม่เกิดเส้นเลือดขอดใหม่ 100% และแพทย์อาจให้การรักษามากกว่า 1 วิธีร่วมกัน เพื่อประสิทธิภาพในการรักษาให้ได้ผลดีมากที่สุด และที่สำคัญบริเวณที่เป็นเส้นเลือดขอด มีอาการปวดหรือบวม คุณควรไปปรึกษาแพทย์ทันที

 

 
       
    แหล่งข้อมูล : นิตยสาร HealthToday  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
เส้นเลือดขอด โรคฮิตของคุณผู้หญิง
 
แก้อาการวูบวาบในวัยทองด้วยถั่วเหลือง
 
การปวดประจำเดือน
 
เรื่องน่าอาย ที่ผู้หญิงไม่อยากบอก
 
กระเพาะปัสสาวะ บีบตัวไวเกินปกติ (Overactive Bladder)
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.