หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
การดูแลรักษา สุขภาพฟัน และเหงือก - แรกเกิดถึง 6 ปี
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


แรกเกิดถึง 6 ปี

ฟันน้ำนมซี่แรก ส่วนใหญ่เป็นฟันหน้าล่าง จะขึ้นเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน และซี่อื่นๆ จะขึ้นตามมาเป็นระยะ จนฟันน้ำนมขึ้นครบ 20 ซี่ เมื่ออายุประมาณ 2 - 2 1/2 ปี (รูปที่ 1) และเด็กจะต้องใช้ฟันน้ำนมนี้ไป จนกว่ามีฟันแท้ขึ้นมาแทน



เมื่อเป็นทารกควรให้นมเป็นเวลา และควรเป็นนมแม่ ถ้าให้นมแม่ไม่ได้จำเป็นต้องใช้นมขวด ก็ไม่ควรใช้นมข้นหวานแทนนมแม่ เพราะนมข้มหวาน จะทำให้เกิดฟันผุไว้อย่างรวดเร็ว และไม่มีคุณค่าทางอาหาร ภายหลังให้นมแม่ หรือให้ดูดนมขวด ต้องหัดให้เด็กดูดน้ำตามทันที เพื่อล้างคราบนมออกจากผิวฟัน ป้องกันการเกิดฟันผุ อย่าปล่อยให้เด็กดูดนมจนหลับ โดยมีขวดนมคาปากอยู่ จะทำให้ฟันผุทั้งปาก และผุรอบฟันทั้งซี่ ถ้าเป็นมาก เด็กจะปวดฟัน ไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ ดังนั้น การทำความสะอาดฟันเด็ก จึงมีความจำเป็นมาก เมื่อฟันยังไม่ขึ้น หรือขึ้นเพียง 2-3 ซี่ ควรใช้ผ้าหรือสำลีชุบ ทำความสะอาดสันเหงือก บริเวณที่ยังไม่มีฟันขึ้น และบนตัวฟันที่ขึ้นแล้ว หลังดูดนมทุกครั้ง หรืออย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอน และควรหาแปรงสีฟันเล็กๆ ที่ขนแปรงอ่อนแปรงฟันให้เด็ก และควรฝึกเด็กดื่มนมจากแก้ว อย่างเป็นขั้นตอน ตั้งแต่อายุประมาณ 7-8 เดือน เพื่อให้พร้อมที่จะเปลี่ยนมาดื่มนม จากแก้ว หรือดูดหลอดได้ เมื่ออายุ 1 ถึง 1 ปีครึ่ง เป็นอย่างช้า เพื่อป้องกันการเกิดฟันผุ จากการใช้นมขวดที่ไม่ถูกวิธี

การแปรงฟัน ผู้ปกครองควรแปรงให้เด็ก ตั้งแต่มีฟันน้ำนมขึ้น จนถึงอายุประมาณ 6-8 ปี เมื่อเด็กสามารถแปรงฟันด้วยตัวเอง ได้สะอาดพอ จึงปล่อยให้เด็กแปรงฟันเอง และวิธีแปรงฟันน้ำนม จะต่างจากการแปรงฟันแท้ เนื่องจากผิวด้านข้างของฟันน้ำนม ค่อนข้างแบน ไม่ได้โค้งนูน เหมือนฟันแท้ การแปรงด้านข้างแก้ม และด้านข้างเพดาน หรือด้านข้างลิ้น จึงแปรงด้วยวิธีถูกลับไปกลับมา จากข้างหน้าไปข้างหลัง และข้างหลังมาข้างหน้า ประมาณแห่งละ 10 ครั้ง และแปรงแบบนี้ กับฟันด้านบดเคี้ยวเช่นกัน
นอกจากนี้ เพื่อเสริมให้เนื้อฟัน แข็งแรงเพิ่มขึ้น ให้เด็กรับประทานยาฟลูออไรด์ โดยแบ่งปริมาณที่จะรับประทาน เป็นมิลลิกรับต่อวัน ตามช่วงอายุของเด็ก และปริมาณฟลูออไรด์ที่มีอยู่ในน้ำดื่ม ดังนี้


อายุ
ปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำดื่ม (มก./ลิตร)
น้อยกว่า 0.3
0.3-0.6
มากกว่า 0.6
6 เดือน - 3 ปี
0.25 มิลลิกรัม/วัน
-
-
3 - 6 ปี
0.5 มิลลิกรัม/วัน
0.25 มิลลิกรัม/วัน
-
6 - 16 ปี
1 มิลลิกรัม/วัน
0.5 มิลลิกรัม/วัน
-


อย่าให้เด็กรับประทาน มากกว่าที่กล่าวมาข้างต้น เพราะถ้ารับประทานมากเกินไป แทนที่เนื้อฟันจะแข็งแรง กลับทำให้ฟันมีผิวฟันตกกระ หรือเป็นลายไม่สวยและกร่อน ดังนั้น ก่อนรับประทานฟลูออไรด์ ควรตรวจน้ำที่ใช้ดื่มอยู่ทุกวันว่า มีฟลูออกไรด์อยู่เท่าไร สิ่งที่ต้องระวัง คือ ต้องเก็บฟลูออไรด์ในที่ซึ่งหยิบไม่ถึง และให้ผู้ใหญ่หยิบให้รับประทานทุกครั้ง ถ้าเด็กรับประทานฟลูออไรด์เกินขนาด จากการหยิบมารับประทานเอง ให้ดื่มนมมากๆ ทันที หรือทำให้อาเจียน แล้วนำส่งโรงพยาบาล เด็กเล็กที่ยังรับประทานยาเม็ดไม่ได้ ให้ใช้ชนิดน้ำหยดเข้าปากโดยตรง หรือผสมน้ำ ถ้าใช้ชนิดเม็ด ให้บดก่อนและละลายน้ำ เมื่อเด็กโตพอรับประทานยาเม็ดได้ ให้ใช้ชนิดเม็ด โดยให้อมทั้งเม็ด ปล่อยให้ฟลูออไรด์ละลายช้าๆ ในปาก ห้ามเคี้ยวเพื่อให้ฟลูออไรด์ซึมเข้าผิวฟัน และควรรับประทานขณะท้องว่าง เพื่อให้มีการดูดซึมได้มากที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้ได้รับฟลูออไรด์มากเกินไป จากการกลืนยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ในเด็กอายุน้อยกว่า 6 ปี ให้ผู้ใหญ่บีบยาสีฟัน ให้ในขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียว (น้อยกว่า 5 มม.) สำหรับเด็กเล็กที่ยังบ้วนน้ำไม่เป็น ไม่แนะนำให้ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์

 

น.อ. ชาตรี หัยกิจโกศล

 
       
    แหล่งข้อมูล : http://web.ku.ac.th/saranaroo/chap2a.htm  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
ฟันน่ารู้
 
คราบหินปูน
 
โรคฟันผุ
 
ขจัดขี้ฟันให้ถูกวิธี
 
กินอาหารเพื่อสุขภาพฟัน
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.