หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
ปัญหาการควบคุมปัสสาวะในผู้สูงอายุ
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 

 
ท่านมีอาการเหล่านี้หรือไม่

 
•
ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ (มากกว่า 7 ครั้ง ใน 1 วัน)
 
•
รู้สึกปวดปัสสาวะมากจนทนไม่ได้  ในทันที
 
•
 ปัสสาวะไหลเล็ด ไม่สามารถรอจนเข้าห้องน้ำได้
 
•
ตื่นขึ้นมาปัสสาวะมากกว่า 1 ครั้งในตอนกลางคืน
 
•
ต้องใส่แผ่นซับปัสสาวะ เพราะปัสสาวะไหลเล็ดมากๆ
 
•
ปัสสาวะไหลเล็ดขณะไอ จาม หัวเราะ ยกของหนัก เดินเร็วๆ หรือออกกำลังกาย

อาการเหล่านี้เกิดจาก ปัญหาของการควบคุมปัสสาวะ ซึ่งพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้หญิง ผู้มีปัญหานี้ส่วนใหญ่ มักไม่ได้รับการรักษา เพราะคิดเองว่าเป็นอาการธรรมดา ที่เกิดเมื่ออายุมากขึ้น และรักษาไม่ได้

ความจริงแล้ว 7 ใน 10 คน ของผู้มีปัญหานี้ สามารถหายขาดหรือควบคุมอาการได้ ด้วยการรักษาและปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง

ทำอย่างไรจะควบคุมการปัสสาวะได้

 
1.
ควบคุมตัวเอง
    ฝึกกลั้น โดยทิ้งระยะเวลาห่าง ระหว่างการถ่ายปัสสาวะแต่ละครั้ง ประมาณ 3 ถึง 4 ชั่วโมง และไม่ควรเข้าห้องน้ำมากกว่า 1 ครั้งในตอนกลางคืน
 
2.
ดื่มน้ำปริมาณเหมาะสม
    หากไม่มีโรคประจำตัวอื่น ปริมาณน้ำดื่ม 6 - 9 แก้ว (1.5-2 ลิตร) ต่อวัน จะเพียงพอ โดยไม่ทำให้ปัสสาวะเข้มข้นเกินไป และท้องไม่ผูก  เครื่องดื่มหลายชนิด เช่น ชา กาแฟ โคล่า  แอลกอฮอล์ จะกระตุ้นให้กระเพาะปัสสาวะทำงานมากขึ้น
 
3.
อย่าให้ท้องผูก
    หลีกเลี่ยงการเบ่งอุจจาระ ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานยืดตัว และอาจทำให้เกิดการหย่อนตัวในภายหลัง
 
4.
ผลจากยาตัวอื่นๆ
    ยาที่ใช้สำหรับโรคอื่นๆ หลายชนิด มีผลต่อการขับปัสสาวะ ควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับยาที่ท่านใช้
 
5.
ควบคุมน้ำหนักตัว
    การมีน้ำหนักตัวมาก จะทำให้มีแรงดันในช่องท้องมากขึ้น
 
6.
ฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
    กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน จะรองรับอวัยวะภายในช่องท้องทั้งหมด โดยเฉพาะในขณะยืนกล้ามเนื้อนี้ควรกระชับตัว ขณะยกของ ไอ จาม หรือออกกำลังกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อนี้ มีความสำคัญมากในการกลั้นปัสสาวะ และสามารถฝึกให้แข็งแรงและทำงานได้ดีขึ้น

การฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง สามารถควบคุมการไหลและหยุดของปัสสาวะได้

 
•
บริหารกล้ามเนื้อ ด้วยการขมิบช่องคลอดและกล้ามเนื้อหูรูด
 
•
ขมิบและเกร็งกล้ามเนื้อค้างไว้ นับ 1 ถึง 8 ช้าๆ แล้วค่อยๆ ผ่อนคลาย
 
•
ทำ 10 ครั้ง  ติดต่อกันและพัก
 
•
ควรทำอย่างน้อย 5 ชุดต่อวัน หรืออาจทำให้บ่อยที่สุด เช่น ทุกๆ ชั่วโมง
 
•
อย่ากลั้นหายใจขณะเกร็งกล้ามเนื้อ
 
•
สามารถบริหารกล้ามเนื้อในท่าต่างๆ ซึ่งจะมีความยากง่ายในการบริหารต่างกัน
 
       
    แหล่งข้อมูล : โรงพยาบาลวิภาวดี - www.vibhavadi.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
โรคที่พบในผู้สูงอายุ
 
อาการแรกเริ่มของสมองเสื่อม
 
การเปลี่ยนแปลงของระบบประสาท
 
อัมพฤกษ์อัมพาต ในผู้สูงอายุ
 
อาการปัสสาวะราดในผู้สูงอายุ
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.