โดยทั่วไป อาการเจ็บคอ (sore throat) อาจเกิดจากอาการของโรคภูมิแพ้ อาการทอนซิลอักเสบ การสัมผัสกับอากาศแห้งจัด รวมทั้งการสูดควันพิษ ซึ่งภายในลำคอจะเป็นสีแดงเรื่อ ทำให้รู้สึกระคายเคือง หรือสากคอ นอกจากนี้ อาการเจ็บคออาจทำให้ลำคออักเสบ โดยเริ่มจากด้านหลังของปาก ไปจนถึงหลอดอาหาร และอาจเป็นอาการแสดงเริ่มแรกของไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่ติดต่อจากการสัมผัสเชื้อโรคโดยตรง ทั้งเสมหะ และน้ำลาย ซึ่งอาการเจ็บคอที่พบส่วนใหญ่มีสาเหตุดังนี้
|
|
การติดเชื้อไวรัส คือ สาเหตุหลักที่ทำให้คนเป็นไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของอาการเจ็บคอมากที่สุด โดยปกติถ้าร่างกายสร้างภูมิต้านทานได้ ก็จะหายเป็นหวัดเองภายในหนึ่งสัปดาห์ อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการไข้ ปวดกล้ามเนื้อ และน้ำมูกไหล นอกจากนี้ อาการเจ็บคออาจเกิดจากโรคปอดบวม จากเชื้อไวรัส หรือ โมโนนิวคลีโอซิส |
|
|
|
การติดเชื้อแบคทีเรีย พบน้อยกว่าการติดเชื้อไวรัส แต่อาการอาจรุนแรงกว่ามาก ส่วนใหญ่จะแสดงอาการภายใน 2-7 วัน โดยเฉพาะในช่วงอายุ 5-25 ปี จะติดเชื้อกันง่าย ทั้งทางน้ำมูก และเสมหะ นอกจากนี้ ยังติดต่อทางอาหาร นม และน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียสเตร็ปโตค็อกคัส ซึ่งถ้าไม่รักษาให้ทันท่วงที เชื้อโรคอาจลุกลามไปทำลายหัวใจและไตอย่างถาวร |
บางคนที่มีอาการเจ็บคอ จนฝากล่องเสียงอักเสบ ช่องคอจะบวมมาก จนปิดทางเดินหายใจควรรีบพบแพทย์ เพราะอาจติดเชื้อสเตร็ปโทรต และเมื่อมีอาการติดเชื้อซ้ำบ่อยๆ จนเกิดอาการแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ติดเชื้อในกระแสเลือด หรือ เป็นไข้รูมาติกได้
ปรับตัวเพื่อลดเจ็บคอ
|
1. |
ดื่มน้ำมากขึ้นกว่าเดิม 2 เท่า น้ำจะช่วยให้เสมหะเหนียวน้อยลง และขับออกง่ายขึ้น |
|
|
ปรับสภาพอากาศให้ชื้นขึ้นเล็กน้อย เช่น หาอ่างใส่น้ำมาวางบริเวณที่ร้อน หรือปลูกต้นไม้ในบ้าน เพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศที่แห้ง จะช่วยให้เยื่อเมือกในช่องคอไม่แห้ง (เมื่อช่องคอแห้ง จะทำให้ระคายคอ และนอนไม่หลับ) |
|
3. |
หลีกเลี่ยงควันและมลพิษต่างๆ งดสูบบุหรี่ รวมทั้งสารระเหยจากน้ำยาทำความสะอาดในบ้าน หรือสีทาบ้าน เพราะจะยิ่งทำให้เจ็บคอมากขึ้น |
|
4. |
หลีกเลี่ยงอาหารก่อพิษ เช่น ชา กาแฟ แอลกอฮอล์ อาหารที่มีน้ำตาลสูงจำพวกเค้ก ขนมหวาน เพราะจะมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดต่อมทอนซิลอักเสบ และโรคติดเชื้ออื่นๆ อันเป็นสาเหตุของการเจ็บคอ |
|
5. |
ใช้เสียงให้น้อยลง เมื่ออาการเจ็บคอลุกลาม จนทำให้กล่องเสียงอักเสบ จนทำให้ระคายคอมากเวลาพูด หรือเสียงหายไปชั่วขณะ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ และให้ความอบอุ่นกับร่างกายเยอะๆ |
วิตามินธรรมชาติแก้อาการเจ็บคอ
|
1. |
เบต้าแคโรทีน มีมากในแครอท ฟักทอง ตำลึง แค กระเพา ขี้เหล็ก ผักเซียงดา ยอดฟักขาว ผักติ้ว และผักแต้ว เมื่อสารเบต้าแคโรทีนเข้าสู่ร่างกาย จะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ซึ่งช่วยทำให้เนื้อเยื่อของเมือกบุในลำคอ และทางเดินหายใจที่ต้องผลิตน้ำย่อยบ่อยๆ มีความแข็งแรง |
|
|
วิตามินดี จากปลาที่มีไขมันมาก เช่น ปลาสวาย ปลาดุก ปลาช่อน ปลาจะละเม็ด ปลาซาบะ ปลาซาดีน ปลาแซลมอน และปลาทะเล เพราะวิตามินดีจากไขมันปลา จะช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อในลำคอ |
|
3. |
วิตามินอี มีมากในผลอะโวคาโด และอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง เพราะมีวิตามินอีที่ช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อ ที่ถูกเชื้อโรคทำลายให้แข็งแรง |
|
4. |
วิตามินบี โดยเฉพาะอาหารที่มีส่วนผสมของ เชื้ออะซิโดฟิลัส (acidophilus) เช่น โยเกิร์ต เพราะจะช่วยทดแทนแบคทีเรียในลำไส้ ซึ่งเป็นแหล่งวิตามินบีบางชนิด ที่ถูกยาปฏิชีวนะทำลายไป |
ยาแก้เจ็บคอจากก้นครัว
|
|
เกลือ เกลือที่เราใช้ปรุงอาหารเป็นยาแก้เจ็บคอได้เป็นอย่างดี โดยผสมเกลือ 1 ช้อนชา กับน้ำอุ่น 1 แก้ว ใช้อมกลั้วคอ หรือทำเป็นน้ำยาบ้วนปาก วันละ 2-3 ครั้ง จะช่วยบรรเทาอาการได้ |
|
|
น้ำอุ่น ผสมน้ำอุ่น 1 แก้วกับน้ำมะนาว หรือน้ำส้มไซเดอร์แอปเปิ้ล 1 ช้อนชา ใช้กลั้วคอ วันละ 2-3 ครั้ง ส่วนผสมดังกล่าวมีฤทธิ์เป็นกรด ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัส |
ผลไม้รสเปรี้ยวบรรเทาเจ็บคอ
อย่ามองข้ามผลไม้รสเปรี้ยวนะคะ เพราะกรดซีตริก (citric) ในรสเปรี้ยวมีสรรพคุณช่วยลดอาการเจ็บคอได้ดี และวิตามินซีจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกาย เพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย และช่วยลดระยะเวลาในการเป็นหวัดให้สั้นลง ซึ่งผลไม้รสเปรี้ยวทีเราแนะนำมีดังนี้
|
|
มะขามป้อม ใช้เนื้อผลแก่สดประมาณ 2-3 ผล โขลกพอแหลก แทรกเกลือเล็กน้อย อมหรือเคี้ยววันละ 3-4 ครั้ง วิตามินซี และรสเปรี้ยวอมฝาดในมะขามป้อม จะช่วยแก้หวัด ทำให้คอชุ่มชื่น แก้อาการคอแห้ง และแก้อาการเจ็บคอ |
|
|
มะนาว ใช้ผลสดคั้นเอาแต่น้ำ แทรกเกลือเล็กน้อย จิบบ่อยๆ หรือ ใช้มะนาวครึ่งลูกบีบใส่น้ำอุ่นครึ่งแก้ว แล้วผสมน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา วิตามินซี และรสเปรี้ยวของมะนาวจะช่วยขับน้ำลาย ลดอาการระคายเคืองที่เยื่อบุผิวภายในลำคอ ส่วนน้ำผึ้งมีสรรพคุณบรรเทาอาการเจ็บคอ |
|
|
มะขาม ใช้เนื้อในฝักแก่ของมะขามเปรี้ยว หรือมะขามเปียก จิ้มเกลือกินพอสมควร หรือจะคั้นเป็นน้ำมะขามแทรกเกลือเล็กน้อย และใช้จิบบ่อยๆ ก็ได้ เนื้อฝักแก่ รสเปรี้ยว ช่วยขับเสมหะ ทำให้คอชุ่มชื่น และแก้อาการเจ็บคอ |
|
|
น้ำส้ม นำผลส้มประมาณ 3 ผล ล้างให้สะอาด คั้นเอาแต่น้ำ เติมน้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ น้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ และเกลือป่น 1/2 ช้อนชา จิบบ่อยๆเมื่อมีอาการ รสเปรี้ยวของส้มมีสรรพคุณแก้ไอ ขับเสมหะ และทำให้ชุ่มคอ |
|
|
เสาวรส นำเสาวรสสุกประมาณ 2-3 ผล ล้างให้สะอาด ผ่าครึ่ง ใช้ช้อนตักเมล็ดและส่วนที่เป็นน้ำสีส้มออกจากเนื้อผล คั้นกรองด้วยกระชอนหรือผ้าขาวบาง เพื่อแยกเอาเมล็ดและเส้นใยออก เติมน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ ชิมรสตามใจชอบ จิบเมื่อมีอาการ รสเปรี้ยวของเสาวรสมีสรรพคุณช่วยขับเสมหะ และทำให้ชุ่มคอ |
บำบัดด้วยน้ำมันหอม
ใช้น้ำมันกลิ่นยูคาลิปตัส เจอราเนียม ลาเวนเดอร์ และเสจอย่างใดอย่างหนึ่ง ทาบริเวณผิวหนัง ตั้งแต่ใต้คางไปสุดลำคอ หรือสูดดมไอระเหย โดยการหยดลงไปในเครื่องทำไอน้ำ หรืออ่างอาบน้ำ จะช่วยลดอาการเจ็บคอได้
นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 193
|