เราเรียนมาว่า วิตามินมีประโยชน์ต่อร่างกายมาตั้งแต่เด็ก แต่คุณรู้หรือไม่ว่า วิตามินที่เรากินกันอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะวิตามินในกลุ่มแอนติออกซิแดนซ์ ( A C D E ) นั้น หากกินเกินความพอดี ก็สามารถก่ออันตรายต่อร่างกายได้เหมือนกัน
วิตามินเอ
ปริมาณวิตามินเอที่ร่างกายเราควรได้รับนั้น จะอยู่ที่ประมาณ 600 - 800 ไมโครกรัม /วัน หากเรากินวิตามินเอมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ก็ทำให้เกิดอันตรายได้
อันตรายจากการขาดวิตามินเอ
|
|
โรคผิวหนัง วิตามินเอมีส่วนสำคัญในการรักษาสภาพเยื่อบุผิวหนัง การขาดวิตามินเอ จึงทำให้ผิวพรรณขาดความชุ่มชื่น หยาบกร้าน แห้งแตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณผิวหนัง ข้อศอก ตาตุ่ม และข้อต่อต่างๆ ซึ่งอาจนำไปสู่โรคผิวหนัง เช่น สิว และโรคติดเชื้ออื่นๆ ได้ |
|
|
ตาฟาง หน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่งของวิตามินเอ คือการมีส่วนช่วยในการสร้างสารที่ใช้ในการมองเห็น (rhodopsin และ iodopsin) หากขาดจะทำให้มองเห็นได้ยากในเวลากลางคืน หรือในที่ที่มีแสงส่วางน้อย และทำให้เยื่อบุตาแห้ง กระจกตาเป็นแผล อีกทั้งในกรณีที่ร่างกายขาดวิตามินเออย่างรุนแรง อาจทำให้ตาบอดถาวรได้ |
|
|
ความต้านทานโรคต่ำ วิตามินเอเป็นตัวช่วยสำคัญ ที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราทำงานตามปกติ การขาดวิตามินเอ จึงทำให้เกิดโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้ง่าย อีกทั้งยังทำให้เกิดการอักเสบในโพรงจมูก ช่องปาก คอ และที่ต่อมน้ำลายอีกด้วย |
อันตรายจากการกินวิตามินซีมากเกินไป
|
|
แท้งลูกหรือพิการ หญิงมีครรภ์ที่กินวิตามินเอเกินขนาด มีความเสี่ยงต่อภาวะทารกในครรภ์ คลอดออกมาพิการหรือแท้งได้ เนื่องจากฤทธิ์ของวิตามินเอมีผลกับการเจริญเติบโตต่อเด็กในครรภ์ ซึ่งอาจทำให้เด็กมีความผิดปกติที่ทางเดินปัสสาวะ กระดูกผิดรูป มีติ่งปูดออกมาที่บริเวณหู เป็นต้น |
|
|
อาจทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย และอาเจียนได้ หากกินวิตามินเอมากขนาดครั้งเดียว เกิน15,000 ไมโครกรัม |
|
|
เกิดการสะสม และเกิดโทษในระยะยาวได้ ทั้งนี้อาการที่พบบ่อยคือ ทำให้เบื่ออาหาร เจ็บกระดูกและข้อต่อ เซื่องซึม นอนไม่หลับ กระวนกระวาย ผมร่วง ปวดศีรษะ ท้องผูก ทั้งนี้อาการทั้งหมดจะหายไปเองหากหยุดกิน |
วิตามินซี
โดยทั่วไป ร่างกายของคนปกติมีความต้องการวิตามินซี อยู่ที่ประมาณ 60-90 มิลลิกรัม/วัน หากรับประทานวิตามินซีมากหรือน้อยกว่าจำนวนดังกล่าว อาจทำให้เกิดอันตรายตามมาดังนี้
อันตรายจากขาดวิตามินซี
|
|
มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดตามข้อต่อของร่างกาย เลือกออกตามไรฟัน เจ็บกระดูก
เป็น แผลหายช้า เนื่องจากวิตามินซีทำหน้าที่ต่อต้านการอักเสบ และช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย การได้รับวิตามินซีไม่เพียงพอ จะทำให้เส้นเลือดในร่างกายอ่อนแอ และทำให้บาดแผลที่เกิดขึ้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกายหายช้าว่าปกติ |
|
|
เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย คุณสมบัติพิเศษอีกประการของวิตามินซี คือ เป็นตัวต่อต้านสารก่อมะเร็ง และช่วยควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน ถ้าร่างกายขาดวิตามินซี จะส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายลดต่ำลง และทำให้ติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้ง่าย |
|
|
เป็นโรคลักปิดลักเปิด ในกรณีของเด็กหรือผู้สูงอายุที่ได้รับวิตามินซี น้อยกว่าวันละ 10 มิลลิกรัม อาจทำให้เป็นโรคลักกะปิดลักเปิดได้ ทั้งนี้หากร่างกายขาดวิตามินซีมากเกินปกติ อาจทำให้มีลูกยาก เป็นโรคโลหิตจาง และมีภาวะความผิดปกติทางจิตได้ |
อันตรายจากการกินวิตามินซีมากเกินไป
|
|
เกาต์ เนื่องจากวิตามินซีมีหน้าที่ในการช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กในร่างกาย การรับวิตามินซีในปริมาณมาก จะทำให้เกิดปัญหาการสะสมธาตุเหล็ก ตามกระดูกข้อต่อต่างๆ มากขึ้น และอาจทำให้เกิดโรคเกาต์ได้ในที่สุด |
|
|
นิ่วในไต นอกจากนั้นการกินวิตามินซีมากเกินไป อาจไปรบกวนการดูดซึมของทองแดงและซิลิเนียม ซึ่งส่งผลให้มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในไตได้ อีกทั้งในคนปกติหากได้รับ เกินกว่าวันละ10,000 มิลลิกรัม อาจทำให้ท้องเสีย ท้องอืด ท้องเฟ้อได้ |
วิตามินดี
ปกติเราสามารถสร้างวิตามินดีได้จากใต้ผิวหนัง เมื่อได้รับรังสีไวโอเลตในแสงแดด ทั้งนี้ ปริมาณวิตามินดีที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน คือ ประมาณ 5 ไมโครกรัม / วัน กระนั้นหากได้รับวิตามินดีมากหรือน้อยเกินไป ก็เป็นอันตรายเช่นกัน
อันตรายจากการขาดวิตามินดี
|
|
โรคกระดูกอ่อน ในเด็กที่กำลังเจริญเติบโต การขาดวิตามินดีจะทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อน เนื่องจากวิตามินดีทำงานร่วมกับแคลเซียม ในการช่วยควบคุมระดับแคลเซียมในร่างกาย เมื่อขาดแคลเซียม จึงทำให้กระดูกเปราะและหักง่าย อีกทั้งยังทำให้กระดูกตามส่วนต่างๆ ในร่างกายผิดรูป โค้งงอ และขาโก่ง อีกทั้งยังทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนในผู้ใหญ่ได้อีกด้วย |
|
|
ท้องเสีย นอนไม่หลับ ปัสสาวะบ่อย กระวนกระวาย กล้ามเนื้อกระตุก เป็นหวัดบ่อย กล้ามเนื้ออ่อนแอ ขาดความคล่องแคล่วกระฉับกระเฉง และความต้านทานโรคลดน้อยลง เป็นต้น |
อันตรายจากการกินวิตามินดีมากเกินไป
|
|
ท้องผูกหรือท้องเสียเรื้อรัง โดยปกติร่างกายของเราสามารถกำจัดวิตามินดี ที่สร้างจากแสงแดดออกไปจากร่างกายตามธรรมชาติ แต่ถ้าหากกินวิตามินดีเสริมมากเกินไป ก็อาจอันตรายได้ เช่น ถ้ากินวิตามินดีวันละ 25-50 ไมโครกรัมติดต่อกันนาน 6 เดือน อาจทำให้เกิดอาการท้องผูก หรือท้องเสียเรื้อรัง เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน หัวใจเต้นผิดปกติ และอ่อนเพลียได้ |
|
|
เกิดภาวะแคลเซียมในเลือดสูง เนื่องจากวิตามินดี มีส่วนช่วยในการดูดซึมฟอสฟอรัส และแคลเซียมจากลำไส้ ไปสร้างกระดูกและฟัน การขาดวิตามินดีจึงมีผลโดยตรง ที่ทำให้ระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกายไม่สมดุล ทำให้มีแคลเซียมสะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ในเนื้อเยื่อ เลือด ตับ ไต ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคร้ายอื่นๆ ตามมาได้ |
วิตามินอี
สำหรับคนปกติ มีปริมาณแนะนำสำหรับการบริโภควิตามินอี อยู่ที่ 15 มิลลิกรัมต่อวัน ทั้งนี้ สำหรับในผู้ป่วยที่ต้องการวิตามินอีเพื่อการรักษาโรค สามารถรับประทานได้มากกว่านี้ แต่ต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์
อันตรายจากการขาดวิตามินอี
|
|
โรคหัวใจกำเริบ วิตามินอีมีหน้าที่สำคัญในการจับสารอนุมูลอิสระ ที่เข้ามาทำลายภูมิคุ้มกันของร่างกาย การขาดวิตามินอี มีส่วนทำให้อนุมูลเหล่านี้ ก็สามารถเข้าไปทำปฏิกิริยากับไขมันในเลือด ซึ่งทำให้เนื้อเยื่อต่างๆ เสื่อมสภาพเร็วยิ่งขึ้น และนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ก่อให้เกิดการเกิดก้อนเลือด และที่สุดทำให้เกิดโรคหัวใจกำเริบได้ |
|
|
ระบบประสาทมีปัญหา ในกรณีของคนที่ร่างกายมีปัญหาในการดูดซึมไขมัน และในเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด การได้รับวิตามินอีต่ำกว่าปริมาณที่กำหนด อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบประสาท และเป็นโรคโลหิตจางได้ เนื่องจากเซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกายถูกทำลาย จนทำให้มีอายุสั้นลง |
อันตรายจากการกินวิตามินอีมากเกินไป
|
|
รู้สึกปวดศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนล้า ตาพร่ามัว อ่อนเพลีย มีอาการอึดอัดในช่องท้อง ท้องร่วง เป็นต้น ทั้งนี้มีรายงานว่าถ้าร่างกายมีวิตามินอีสูงมาก อาจขัดขวางการดูดซึมวิตามินเอ ซึ่งส่งผลทำเลือดแข็งตัวช้าลง เป็นต้น |
นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 206
|