หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
โรคจน ปัญหา สุขภาพจิต
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 
คติทางพุทธศาสนา กล่าวว่า ความสุขของคฤหัส เกิด แก่ การมีทรัพย์ การบริโภคใช้จ่ายทรัพย์ การไม่เป็นหนี้ การประกอบอาชีพไม่เป็นโทษ และถือว่าความยากจน เป็นทุกข์ในโลก แต่ทุกข์จากความยากจน ก็ไม่เท่าทุกข์จากการเป็นหนี้

คนที่เกิดมาในครอบครัวกลางๆ หรือค่อนข้างต่ำ กว่าจะสามารถสร้างตัว ให้กลายเป็นคนร่ำรวยได้ ต้องประกอบด้วยคุณลักษณะ 3 ประการเป็นอย่างน้อยได้แก่ เก่ง ขยัน ประหยัด

ให้เก่งแค่ไหน ขยันอย่างไร ถ้าขาดการประหยัด ไม่มีทางรวยได้ คนร่ำรวย เป็นมหาเศรษฐีอยู่ได้จนทุกวันนี้ เพราะยึดมั่นในหลักการที่ว่า "รายได้ไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่รายเหลือ"

ส่วนต้นตอของโรคจนมีอยู่เพียง 2 ทางคือ

 
1.
ไม่มีรายได้ เพราะไม่ได้ทำงาน หรือทำงานไม่ได้
 
2.
รายจ่ายมากกว่ารายรับ

คนที่มีความยุ่งยาก ทางการเงินอยู่เป็นประจำนั้น ประสบการณ์ในวัยเด็ก มักไม่สมหวังทางด้านวัตถุ อยากได้สิ่ง ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วไม่ควรได้ มักคิดว่าคนอื่นๆ ร่ำรวย สุขสบายกว่าตนเองเสมอ ขาดความรู้สึกมั่นคง ไม่เชื่อมั่นในตัวเอง ไม่มีความสุข ทั้งในชีวิตครอบครัวและการงาน ไม่พอใจชีวิตความเป็นอยู่ ทั้งในด้านส่วนตัว ความรัก กามารมณ์ รู้สึกหงอยเหงา ว้าเหว่ ชีวิตอยู่ภายใต้การควบคุมของเงิน ตรงข้ามกับคนที่มีเงินพอใช้ จะเป็นฝ่ายบังคับเงิน ได้มากกว่าปล่อยให้เงินบังคับ ถ้าอยากได้อะไรสักอย่าง ถ้ารู้สึกว่าแพงเกินกำลัง ก็ใช้เวลาในการเก็บสะสมทรัพย์ จนหมดความอยากไปเอง ไม่เหมือนกับคนที่มีปัญหาทางการเงิน ถ้าอยากได้อะไรจะซื้อมาก่อน แล้วค่อยแก้ปัญหาเอาทีหลัง แรงจูงใจที่อยากได้ แรงเกินกว่าที่จะบังคับควบคุมได้ จากการศึกษาพบว่า คนเหล่านี้มีความกลัว วิตกกังวล และหวาดหวั่นสูง มีอาการเจ็บป่วยทางกาย ที่มีสาเหตุมาจากทางใจสูงกว่าคนทั่วไป

คนที่ป่วยเป็น โรคจนเรื้อรัง โดยเฉพาะที่ไม่ได้ ติดต่อมาจากบรรพบุรุษ แต่เป็นเพราะแรงจูงใจ ให้จับจ่ายใช้สอยมากเป็นพิเศษนั้น ปกติมักเป็นคน ที่ไม่มีความสามารถสร้างความรู้สึก ที่มีคุณค่า มีราคา มีความสำคัญ ให้เกิดขึ้นกับตัวเองได้ จึงใช้จ่ายเงินทองเป็นอย่างมากเพื่อ

 
1.
ซื้อหาสิ่งของเครื่องใช้ มาเป็นเฟอร์นิเจอร์ ตกแต่งให้ตัวเองมีค่า มีราคา
     
 
2.
ซื้อหาเพื่อนพ้องบริวาร มาคอยห้อมล้อม ยกยอปอปั้นตัวเอง ยามใดที่ขาดแคลน นอนแขม่วท้องตาปรอยมองเพดานรำพึงรำพัน

เมื่อมั่งมีมากมิตรมาหมายมอง เมื่อมัวหมองมิตรมองเหมือนหมูหมา เมื่อไม่มีมวลมิตรไม่มองมา เมื่อมอดม้วยแม้หมูหมาไม่มามอง
     
 
3.
ปรนเปรอตัวเอง คนจนประเภทนี้ ให้ความรู้สึกสงสารเวทนา มักเริ่มจากแผล ที่พ่อแม่ฝากไว้ในหัวใจ พ่อแม่ร่ำรวย แต่บ้างาน มัวแต่หาเงิน ไม่เอาใจใส่ดูแลใกล้ชิดลูก ใช้เงินแทนความรัก เมื่อโตขึ้นหาเงินได้ ก็ใช้เงินเป็นทาสปรนเปรอความสุขให้กับตัวเอง และมักฝังใจว่าในโลกนี้ ไม่มีใครรักตัวเองจริงมากเท่ากับตัวเอง จึงเอาใจใส่ตัวเองเป็นอย่างดี เขาว่าอะไรดี อะไรใหม่ อะไรสวย ก็ไปซื้อหามา อะไรอร่อย ที่ไหนสนุกก็บากบั่นไปหา เพื่อเขาเป็นอยู่อย่างไรต้องไม่ให้น้อยหน้า มีเงินเท่าไหร่ใช้จนหมด หลายคนคงได้ยินว่า
   
 
•
ทำไมคนทำงานธนาคารจึงเป็นหนี้แขกยาม
 
•
ทำไมภารโรงจึงมีเงินให้ครูกู้กินดอก เนื่องจากแรงจูงใจให้ใช้จ่ายสูงกว่า ความอดทนต่อความอยากได้ อยากเป็น อยากมี ผลก็คือ ยากจนกว่า ทำให้สุขภาพจิตเสียมากก็ใช้จ่ายมาก จ่ายมากก็จนมาก
 
•
สูตรความจนมีอยู่ว่า คนจนทำรวยยิ่งจน คนรวยทำจนยิ่งรวย คนจนทำจนยิ่งไม่รวยก็สุขได้

แต่ก็อุตส่าห์มีคนทักท้วงว่า เกิดมาชาตินี้ขอเป็นคนจนดีกว่า เพราะเป็นมาจนเคยชินเสียแล้ว เกิดร่ำรวยปุบปับ ปรับตัวไม่ทัน อาจเป็นบ้าเอาง่ายๆ เพราะอย่างน้อยคนจนดีกว่าคนรวยอยู่หนึ่งอย่างคือ คนรวยไม่กลัวรวยแต่กลัวจน ส่วนคนจนไม่กลัวทั้งจน ไม่กลัวทั้งรวย

 
       
    แหล่งข้อมูล : www.ku.ac.th/e-magazine - นิตยสารเกษตรศาสตร์ ฉบับที่ 27 กันยายน 2545  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
บันได 5 ขั้น สู่ชีวิตใหม่ ที่มีค่าและเป็นสุข
 
คู่มือคลายเครียด (1)
 
วิธีขับไล่ความโกรธเกรี้ยว
 
โรคจิตเภท
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.