โรคข้อ และรูมาติซั่ม บรรเทาได้ด้วยความเข้าใจ |
---|
|
1. |
ยาแก้ปวด (analgesic) อาจใช้พวกยาพาราเซตามอล หรือยาแก้ปวดที่ผสมกับยาคลายกล้ามเนื้อ ในรายที่มีการเกร็งของกล้ามเนื้อร่วมด้วย หรือพาราเซตามอลที่ผสมโคเดอีน (codeine) ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการท้องผูก บางรายมีอาการเวียนศีรษะได้ | |
2.
|
ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (nonsteroidal antiinflammatory drugs) กลุ่มแรกที่ใช้คือ แอสไพริน แต่ต้องใช้จำนวนมาก 10-12 เม็ด/วัน ระยะหลังมียากลุ่มนี้ออกมามากมายหลายตัว ยากลุ่มนี้ อาจมีผลระคายเคืองกระเพาะอาหาร และบางรายอาจมีอาการหอบหืด เลือดออกไม่หยุดหลังการผ่าตัด จึงจำเป็นต้องหยุดยาก่อนผ่าตัด | |
3. |
ยาต้านรูมาติซั่มที่ปรับเปลี่ยน ตามการดำเนินของโรค (disease modifying antirheumatic drugs; DMARD) เป็นยากลุ่มที่ยับยั้ง หรือหยุดการอักเสบของโรค ลดการทำลายของข้อและกระดูก เป็นกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ค่อนข้างช้า อาจใช้เวลา 3-6 เดือนจึงจะเห็นผล และจำเป็นต้องใช้เป็นระยะเวลายาวนาน จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษา ติดตามด้วยการตรวจเลือด และปัสสาวะเป็นระยะ เพื่อป้องกันผลข้างเคียงกลุ่มยาเหล่านี้ ได้แก่ กลุ่มยารักษามาลาเรีย สารเกลือทอง ซัลฟาซาลาซีน เมทโธเทรกเซท | |
4. |
ยาสเตียรอยด์ จะทำให้อาการต่างๆ ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ไม่ได้มีการยับยั้งของโรค ดังนั้น อาจเกิดผลข้างเคียง ถ้าใช้ในขนาดสูง เช่น กระดูกพรุน ต้อกระจก โรคติดเชื้อ ในรายที่เหมาะสม แพทย์อาจใช้ฉีดเข้าข้อ หรือใช้รับประทาน 2.5-5 มก. ต่อวันในระยะแรกที่ให้การรักษา หรือจำเป็นต้องให้ในรายที่เกิดเส้นเลือดอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ปอดอักเสบ |
ทั้งนี้ การให้ยาแก่คนไข้ แพทย์จำเป็นต้องชั่งน้ำหนักว่า ผลดีผลเสียของยาด้วย เพราะยาแต่ละตัวให้ผลต่างกัน
แม้ว่าแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ จะเป็นผู้ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคข้ออักเสบก็ตาม แต่บุคคลสำคัญที่สุดในการรักษา คือ ตัวผู้ป่วยเอง ผู้ป่วยควรจะรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ได้รับการออกกำลังกาย และการพักผ่อนอย่างเพียงพอ และรู้จักการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ ในการป้องกันไม่ให้ข้อต้องทำงานมากเกินปรกติ ผู้ป่วยควรเข้าใจในโรคของตนเอง และควรรีบปรึกษาแพทย์เมื่อมีปัญหา นอกจากนี้ญาติพี่น้องก็มีส่วนช่วยอย่างยิ่ง ในการให้ความช่วยเหลือ และให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย การปรึกษากับแพทย์ พยาบาล เพื่อนและญาติพี่น้อง จะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจโรคข้ออักเสบได้ดียิ่งขึ้น และดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข
ARTHROSCOPE คือ เครื่องมือแพทย์ชนิดหนึ่ง เป็นกล้องส่องขยาย ใช้ใส่เข้าไปในข้อ โดยการเจาะรู ผ่านผิวหนังเข้าไป เพื่อใช้ในการวินิจฉัย และสามารถผ่าตัด รักษาโรคบางโรคของข้อต่างๆ ในร่างกายได้ โดยไม่ต้องมีแผลใหญ่ ช่วยให้ผู้ป่วยหายเร็วกว่า วิธีผ่าตัดแบบทั่วๆ ไป
อย่างไรก็ตาม คนไข้ควรจะต้องเข้าใจด้วยว่า ถ้าการสึกหรอของผิวข้อ เกิดจากความชรา หรือเข่าเสื่อม หรือกระดูกผิวข้อแตกจากอุบัติเหตุ แม้ว่าตรวจพบได้ด้วยกล้อง แต่ก็ไม่สามารถผ่าตัดด้วยกล้องได้เสมอไป ต้องเปลี่ยนไปใช้วิธีอื่นรักษา แล้วแต่กรณีตามความเหมาะสม
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง | ||
โรคเก๊าท์ | ||
โรคข้อเสื่อม | ||
โรคกระดูกพรุน | ||
โอ๊ย ! ... ปวดหลัง | ||
เป็นข้อต่ออักเสบ ควรออกกำลังกายอย่างไร |
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved. |