หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
รู้จักโรค...หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


หมอนรองกระดูก ...ช่วยให้ยืดหยุ่น

หมอนรองกระดูกสันหลัง เป็นอวัยวะส่วนสำคัญที่ช่วยคั่นกลางรอยต่อ ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละคู่ โดยหมอนรองกระดูกนี้ มีลักษณะยืดหยุ่น เพื่อช่วยให้สันหลังเคลื่อนไหวได้

รองศาสตราจารย์นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ภายในโพรงของกระดูกสันหลัง จะมีไขสันหลังบรรจุอยู่ และมีเส้นประสาทแยกแขนง จากไขสันหลังไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เส้นประสาทส่วนต้นสุด ที่แยกแขนงออกมาจากไขสันหลัง เรียกว่า รากประสาท ซึ่งอยู่ชิดกับหมอนรองกระดูก

บางคนอาจมีการเคลื่อนตัวของหมอนรองกระดูก ไปรบกวนหรือกดทับถูกรากประสาทดังกล่าว ทำให้เป็นโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือที่เรียกว่า รากประสาทถูกกด

คนกลุ่มไหนที่เสี่ยง

โรคนี้มักพบในคนอายุ 20-40 ปี โดยมักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิิงประมาณ 2 เท่า มักเกิดกับคนที่ได้รับบาดเจ็บ หรือมีแรงกระเทือนที่บริเวณหลัง หรือคนที่แบกของหนัก หรือนั่งทำงานในอิริยาบถที่ไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้มีการเคลื่อนตัวของหมอนรองกระดูก

ส่วนตำแหน่งที่พบบ่อยของการเคลื่อนตัวของหมอนรองกระดูก คือ หมอนรองกระดูกสันหลังบริเวณกระเบนเหน็บ หรือ ระดับบั้นเอว

ปวดหลังแบบไหน ไม่ใช่โรคนี้

คนที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน มักจะมีอาการปวดหลังตรงระดับบั้นเอวหรือกระเบนเหน็บ ร่วมกับอาการปวดร้าวลงขา (จากแก้มก้นลงไปที่น่อง หรือปลายเท้าด้านข้าง หรือด้านนิ้วก้อย) ข้างใดข้างหนึ่งร่วมด้วย หรืออาจจะเคยยกของแล้วปวดหลังทันที มักปวดมากเวลาก้มหรือนั่ง หรือเวลาไอ จาม หรือเบ่งถ่าย หากปล่อยทิ้งไว้นานๆ อาจมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขาตามมาได้

ส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการคล้ายกันได้ เช่น

 
1.
โรคปวดกล้ามเนื้อหลัง ซึ่งเกิดจากการนั่ง นอน หรือยกของผิดท่า ทำให้มีอาการปวดยอกกล้ามเนื้อหลัง โดยที่ไม่มีอาการปวดร้าวลงขา ร่วมด้วย ซึ่งสามารถบรรเทาอาการด้วยการประคบด้วยความร้อน
 
2.
กระดูกสันหลังเสื่อม โรคนี้พบในผู้สูงอายุ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลัง ก้มหรือเอี้ยวตัวลำบาก หรืออาจมีอาการปวดขัดในข้อเข่าร่วมด้วย ในรายที่หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม และเคลื่อนไปกดทับถูกรากประสารท ก็อาจมีอาการปวดร้าวลงขาร่วมด้วย
 
3.
เนื้องอกของไขสันหลัง โรคนี้จะมีอาการปวดหลัง และปวดร้าวลงขาแบบเดียวกับหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน แต่จะพบในคนอายุ มากกว่า 40 ปี โดยอาการปวดจะเป็นเรื้อรัง แล้วต่อมาจะมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขา ซึ่งจะค่อยๆ เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเป็น อัมพาต บางคนอาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดร่วมด้วย

วิธีบรรเทาอาการ

 
1.
นอนพักบนที่นอนแข็ง หรือพื้นแข็ง โดยเฉพาะในระยะที่มีอาการมาก ควรนอนพักตลอดวัน สัก 2-3 วัน การนอนจะลดแรงกดดัน ที่มีต่อหมอนรองกระดูกให้เหลือน้อยที่สุด
 
2.
หลีกเลี่ยงอิริยาบถที่ทำให้ปวดหลัง
 
3.
รักษาหลังให้ตรงอยู่เสมอ
 
4.
อย่าปล่อยตัวให้อ้วน และหมั่นออกกำลังกาย เพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าท้องและหลังแข็งแรงอยู่เสมอ

วิธีการป้องกัน

 
1.
การยืนต้องยืนให้น้ำหนักตัวค่อนมาทางส้นเท้า แขม่วท้อง อกผาย ไหล่ผึ่ง
 
2.
การนั่งต้องนั่งให้หลังตรงหรือแอ่นน้อยที่สุด ที่นั่งต้องรองรับก้นและโคนขาทั้งหมด ความสูงต้องพอดีที่ฝ่าเท้าวางเต็มที่
 
3.
การขับรถ ต้องเลื่อนเก้าอี้ไปข้างหน้าให้พอเหมาะ หลังพิงพนักเต็มที่ เข่างออยู่ระดับเหนือกว่าสะโพกเล็กน้อย
 
4.
การยกของ ต้องย่อตัวนั่งลงกับพื้น ยกของให้ชิดตัว แล้วลุกด้วยกำลังขา
 
5.
เมื่อนอนหงายควรใช้หมอนข้างใบใหญ่หนุนที่ดคนขา ซึ่งจะช่วยให้กระดุกสันหลังแบนราบ
 
6.
เมื่อนอนตะแคง ควรนอนให้ขาล่างเหยียดตรง ขาที่อยู่ด้านบนงอ สะโพกและเข่ากอดหมอนข้างไว้

สำหรับชีวจิต เราขอแนะนำให้คุณๆ ทั้งหลายลองมาออกกำลังกายด้วยการรำกระบองค่ะ เพราะเป็นการออกกำลังกายที่ช่วย เสริมความแข็งแรงให้กระดูก เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ ขณะเดียวกันก็ได้บริหารเพื่อการยืดหยุ่น และผ่อนคลายของกระดูก เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ

 


นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 160

 
       
    แหล่งข้อมูล : www.cheewajit.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
โรคข้ออักเสบ
 
โรคข้อเสื่อม
 
อาการของผู้ที่เป็น ข้อเข่าเสื่อม
 
มือชา-นิ้วล็อค โรคฮิตของคนทำงาน
 
โรคกระดูกพรุน
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.