ถาม |
: |
หัวใจคนปกติขนาดเท่าไร |
ตอบ |
: |
ขนาดหัวใจคนปกติโดยทั่วไป ขนาดเท่ากับกำปั้นมือของเจ้าของ ไม่เล็กไม่ใหญ่ ขนาดพอดี |
ถาม |
: |
อาการโรคหัวใจ หรืออาการผิดปกติ เกี่ยวกับหัวใจมีอะไรบ้าง |
ตอบ |
: |
โรคหัวใจมีหลายอย่าง เวลาคนไข้มาสอบถามว่า กลัวจะเป็นโรคหัวใจ เป็นโรคหัวใจหรือเปล่า คนไข้จะไม่รู้ว่า ความจริงแล้วโรคหัวใจมีหลายประเภท เช่น โรคหัวใจ ลิ้นหัวใจ เช่น การติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ การถูกทำลายที่ลิ้นหัวใจ หรือว่าเป็นโรคของกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม คือ กล้ามเนื้อหัวใจที่เคยบีบตัวมาตลอดชีวิต ก็เริ่มทำงานลดลง เสื่อมสภาพไปเร็วกว่ากำหนด หรือโรคหัวใจที่พบบ่อยที่สุดทุกวันนี้ คือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด มีหลากหลายเหลือเกิน |
ถาม |
: |
ที่พบมากที่สุดคือ หลอดเลือดหัวใจตีบ ใช่ไหมคะ |
ตอบ |
: |
ใช่ครับ โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นโรคที่พบบ่อยมากขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมไทย ซึ่งเปลี่ยนจากสังคมตะวันออก เป็นสังคมตะวันตก คือว่าเรามีการบริโภคอาหาร ที่มีไขมันมากขึ้น มีความเครียดมากขึ้น สูบบุหรี่มากขึ้น อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ เป็นภัยต่อหัวใจมากขึ้น ทำให้โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับโรคหัวใจชนิดอื่นๆ |
ถาม |
: |
การเกิดโรคของแต่ละอย่าง ทั้งที่เกี่ยวกับลิ้นหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ หรือว่าเส้นเลือด สาเหตุของมันแตกต่างกันอย่างไร |
ตอบ |
: |
แตกต่างกันค่อนข้างมาก ยกตัวอย่าง เช่น โรคลิ้นหัวใจ ที่มักจะเกิดในสภาพสังคมคน ที่ค่อนข้างจะยากจนซักหน่อยนึง เพราะสาเหตุการเกิดเนื่องจาก มีการติดเชื้อที่บริเวณทางเดินหายใจ หลังจากนั้นเชื้อ หรือปฏิกิริยาจากการติดเชื้อ ก็ลงไปจู่โจมที่ลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจเกิดการอักเสบ เกิดการทำลายเกิดขึ้น แล้วเกิดลิ้นหัวใจตีบ และลิ้นหัวใจรั่วตามมา ซึ่งภาวะนี้ทุกวันนี้ ในสังคมที่พัฒนาขึ้นแล้วอย่างบ้านเรา พอเป็นไข้หวัดขึ้นที เราก็มักจะได้รับยาปฏิชีวนะกันค่อนข้างเร็ว เชื้อโรคก็ไม่เพิ่มปริมาณมากขึ้น ปฏิกิริยาต่อสู้กับเชื้อโรค ก็ไม่ไปจู่โจมที่หัวใจ เพราะฉะนั้น โรคลิ้นหัวใจ จึงลดลงค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในชุมชนเมือง ก็ยังเหลือแต่ในชนชนบท ซึ่งยังห่างไกลการรักษาพยาบาลอยู่ แต่เรื่องของหลอดเลือดตีบที่พบบ่อย และเป็นที่กังวลของคนมากขึ้น ทุกวันนี้ เราลองมานึกดูนะครับว่า หัวใจคนเรา เคยทานหัวใจหมู ก็จะเห็นว่าเป็นอวัยวะที่เป็นก้อน และก็จะมีผนังกล้ามเนื้อหัวใจอยู่ กล้ามเนื้อหัวใจต้องทำงานตลอดเวลา 24 ช.ม.ต่อวัน 7 วันต่อสัปดาห์ / 52 สัปดาห์ต่อปี จะเห็นว่า หัวใจก็ต้องการอาหารไปเลี้ยงเหมือนกัน เพราะเขาทำงานหนัก จึงจะต้องมีเลือดมาเลี้ยงเขา เลือดที่มาเลี้ยงหัวใจ ก็อยู่บนผิวของหัวใจ และส่งมาเลี้ยงหัวใจ เพื่อให้หัวใจทำงานได้ตามปกติ ทีนี้วันดีคืนดี หลอดเลือดหัวใจ ที่เคยไหลเวียนได้สะดวก เหมือนกับท่อส่งน้ำ ก็เกิดอาการอุดตันเกิดขึ้น ไหลเวียนไม่สะดวก แต่การที่ท่อส่งน้ำจะเกิดตีบตันขึ้นมา มันไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ มันมีตัวเร่งอยู่ประมาณ 7 อย่าง ที่ทำให้มันตีบมากขึ้น คือ
|
1. |
เพศชาย :
เพศชายค่อนข้างจะเสียเปรียบกว่าเพศหญิง เกิดก็ยาก ตายก็ง่าย โรคหัวใจก็เป็นง่ายกว่าเพศหญิงเยอะ พออายุเกิน 45 ปี ก็เริ่มเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ พร้อมอายุที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ผู้หญิงมักจะต้องเกิดเมื่อ 55 ปีไปแล้ว หรือหลังจากวัยหมดประจำเดือนไปแล้ว |
|
|
อายุ : เมื่ออายุมากขึ้น โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบก็จะเพิ่มขึ้น ถึงแม้หน้าตาจะดูเด็ก แต่เราก็เปลี่ยนความเสื่อมภายในไม่ได้อยู่ดี |
|
3. |
พันธุกรรม : ถ้าคุณพ่อคุณแม่เป็นโรคหัวใจเร็ว
แนวโน้มเราจะมีโรคหัวใจ ที่เกิดขึ้นค่อนข้างเร็ว บางคนอายุ 35 ปี ก็มาด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายแล้ว ดังนั้นพันธุกรรมก็เป็นตัวกำหนดว่า เราจะเป็นโรคหัวใจ ชนิดหลอดเลือดหัวใจตีบมากง่ายหรือเปล่า |
|
4. |
การสูบบุหรี่ : ยิ่งสูบมากเท่าไหร่ โรคหัวใจก็ถามหาเร็วขึ้นไม่ใช่แต่โรคปอดเท่านั้น |
|
5. |
โรคความดันโลหิตสูง |
|
6. |
โรคเบาหวาน |
|
7. |
โรคไขมันสูง |
|
8. |
ภาวะเครียด : คนที่ชอบการแข่งขัน ชอบเอาชนะและไม่เดินทางสายกลาง ก็มักจะได้โรคหัวใจแถมไปด้วย และจะยืนอยู่บนความสำเร็จไม่ได้นาน นี่คือสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ส่วนสาเหตุของโรคหัวใจอื่นๆ ก็จะหลากหลายกันออกไป (แต่โรคใจอ่อน ใจง่ายนั้นไม่เกี่ยว แล้วแต่บุคคลเอง) และผ่าตัดแปลงเพศแล้ว มันก็ไม่ได้เปลี่ยนพันธุกรรม ของความเป็นเพศชายไปได้ มันแก้ไขไม่ได้ แต่มีปัจจัยบางอย่างที่แก้ไขได้ก็คือ ถ้าเป็นเบาหวาน ก็ควบคุมเบาหวานให้ดี อย่าบริโภคอาหารที่หวาน เกินกำลังของร่างกาย ถ้าเป็นความดันโลหิตสูง ก็ควบคุมความดัน ถ้าเป็นคนที่ชอบสูบบุหรี่ อันนี้ต้องลดลงชัดเจน นอกจากนี้ ยังมีการควบคุมระยะยาว ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มีหลายปัจจัยที่ควบคุมได้เหมือนกัน เพียงแต่ว่าต้องอาศัยความอดทนเป็นแบบนักกีฬา |
|
ถาม |
: |
สรุปโรคหัวใจโต คืออะไรกันแน่คะ เพราะคุณผู้ฟังสงสัย |
ตอบ |
: |
ภาวะหัวใจโต ไม่ถือเป็นโรค แต่เป็นภาวะหนึ่งของโรคหัวใจ นั่นหมายความว่าโรคหัวใจ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ มาถึงจุดหนึ่ง เมื่อปล่อยให้โรคดำเนินไปมากๆ ขึ้นแล้ว จะเกิดภาวะหัวใจโตขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าปล่อยให้หัวใจโตแล้ว จะเป็นสัญญาณเตือนว่า วันข้างหน้าโรคหัวใจนี้ จะพัฒนาขึ้นสู่โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหัวใจล้มเหลว เข้าสู่โรคหัวใจระยะสุดท้าย และมีโอกาสเสียชีวิต สรุปก็คือ ไม่ว่าโรคหัวใจจะอยู่เฉยอย่างไรก็ตาม ถ้ารักษาไม่ดีก็นำมาซึ่งภาวะหัวใจโต แล้วก็ทำให้หัวใจล้มเหลวได้ในที่สุด |