การใช้ยาในเด็กนั้น ต้องเพิ่มความระมัดระวังให้มากกว่าปกติ เพราะเด็กจะมีความอดทนของร่างกายต่ำกว่าผู้ใหญ่ หากเกิดความผิดพลาดขึ้นแล้ว ผลเสียที่เกิดกับเด็กจะร้ายแรง กว่าที่เกิดกับผู้ใหญ่หลายเท่า
ข้อควรพิจารณาเบื้องต้นสำหรับการใช้ยาในเด็ก ได้แก่
|
1. |
ไม่ควรใช้ยาโดยไม่จำเป็น หากหลีกเลี่ยงได้ควรหลีกเลี่ยง |
|
|
ควรเลือกยาที่คุ้นเคย หรือที่เคยใช้แล้วปลอดภัย และพยายามหลีกเลี่ยงการใช้ยาชนิดใหม่ๆ โดยไม่จำเป็น |
|
3. |
ควรอ่านฉลากยาให้ถี่ถ้วน และสังเกตลักษณะของยาว่ามีลักษณะทางกายภาพ เปลี่ยนแปลงจากที่เคยใช้หรือไม่ เช่น สี, กลิ่น, ลักษณะการตกตระกอน เนื่องจากยาประเภทน้ำเชื่อม มักจะหมดอายุเร็วกว่ายาประเภทยาเม็ด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของยา อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อเด็กได้ |
|
4. |
หากเด็กโตพอที่จะกินยาเม็ดได้ ให้เลือกใช้ยาเม็ดดีกว่ายาน้ำ เพราะราคาถูก พกพาสะดวกและหมดอายุช้ากว่า |
|
5. |
ควรหลีกเลี่ยงยาฉีดมากที่สุด ยกเว้นในกรณีที่จำเป็นจริงๆ โดยแพทย์เป็นผู้สั่งให้ฉีดยา และฉีดโดยแพทย์หรือพยาบาลเท่านั้น เนื่องจากยาฉีดมีโอกาสแพ้แบบช็อค อย่างรุนแรงมากกว่ายาชนิดอื่น |
การแบ่งช่วงอายุของเด็กเพื่อเลือกใช้ยาให้เหมาะสม
|
• |
เด็กแรกเกิด หมายถึง เด็กแรกคลอดจนถึง 4 สัปดาห์ |
|
• |
เด็กอ่อนหรือทารก หมายถึง เด็กแรกคลอดจนถึง 1 ขวบ |
|
• |
เด็กเล็ก หมายถึง เด็ก 1 ขวบถึง 6 ขวบ |
|
• |
เด็กโต หมายถึง เด็ก 6 ขวบ ถึง 12 ขวบ |
|
• |
สำหรับเด็กอายุ 12 ขวบขึ้นไป สามารถให้ยาได้เหมือนกับผู้ใหญ่ |
ข้อควรระวังในการใช้ยาชนิดต่างๆ กับเด็ก
|
1. |
ยาปฏิชีวนะ |
|
|
นิยมทำเป็นรูปผงแห้ง ก่อนผสมน้ำ ควรเคาะขวดยาให้ผงยากระจายตัวก่อน จึงผสมน้ำสุกต้มที่เย็นแล้ว ให้ได้ระดับที่กำหนด ยาบางชนิดเมื่อผสมน้ำแล้วต้องเก็บในตู้เย็น และต้องกินยาติดต่อกันจนหมด แม้ว่าอาการจะหายดีแล้ว ยกเว้นกรณีแพ้ยาให้หยุดยาทันที และรีบไปพบแพทย์ |
|
|
ยาลดไข้ |
|
|
ที่นิยมให้เด็กกินก็คือ พาราเซตามอล (Paracetamol) โดยให้เด็กกินยาทุก 4-6 ชั่วโมงจนไข้ลด แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ภายใน 2 วัน หรือมีไข้สูงมาก ควรไปพบแพทย์ ห้ามเปลี่ยนไปใช้ยาแอสไพริน (Aspirin) หรือ ไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) เพราะหาก เด็กเป็นไข้เลือดออกจะทำให้เกิดอันตรายได้ และยาพาราเซตามอล ไม่ควรกินยาติดต่อกันเกิน 5 วัน เพราะอาจมีผลเสียต่อตับได้ ส่วนกรณีจำเป็นเมื่อต้องใช้ยาลดไข้แอสไพริน หรือ ไอบูโปรเฟน ควรให้กินยาหลัง รับประทานอาหารทันที เนื่องจากยานี้ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร และนอกจากการให้ ยาลดไข้แล้ว ควรเสริมด้วยการเช็ดตัวเด็กด้วยผ้าชุบน้ำ หมาดๆ เช็ดตามข้อพับ ตามซอกต่างๆ และลำตัว เพราะจะช่วยระบายความร้อนและลดไข้ได้ดีขึ้น |
|
3. |
ยาแก้ไอ |
|
|
ไม่ควรนำยาแก้ไอของผู้ใหญ่มาให้เด็กกิน เพราะยาบางชนิดอาจจะผสมแอลกอฮอล์ หรือยาบางตัวอาจมีฤทธิ์กดศูนย์กลางการหายใจ อาจทำให้เด็กหยุดหายใจจนเสียชีวิตได้ |
|
4. |
ยาแก้ท้องเสีย |
|
|
ไม่ควรให้ยาที่มีความแรงมากในเด็กเล็ก เพราะอาจไปกดการหายใจได้ วิธีที่ดีที่สุดคือการให้น้ำและเกลือแร่ เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำ |
กลเม็ดเคล็ดลับการให้ยาเด็ก
|
1. |
ต้องใจเย็นและมีความอดทน เพราะโดยธรรมชาติของเด็กมักไม่ชอบกินยา ควรพยายามหว่านล้อ มและชักจูงเด็กมากกว่าที่จะใช้วิธีบังคับ เพราะยิ่งจะทำให้ให้เด็กกินยา ยากยิ่งขึ้น |
|
|
ไม่ควรบีบจมูกแล้วกรอกยาใส่ปากเด็ก และไม่ควรป้อนยาให้เด็ก ขณะที่เด็กกำลังร้องหรือดิ้น เพราะนอกจากจะทำให้เด็ก สำลักแล้ว ยังส่งผลทางด้านจิตใจต่อเด็กด้วย |
|
3. |
หากยามีรสชาติไม่ดีหรือมีกลิ่นไม่น่าทาน ควรผสมน้ำเชื่อม เพื่อเพิ่มรสชาติที่ดี ทำให้เด็กกินยาได้ง่ายขึ้น |
|
4. |
ไม่ควรใส่ยาลงไปในขวดนม เพื่อให้เด็กได้รับยาจากการดูดนม เพราะถ้าเด็กดูดนมไม่หมด จะทำให้เด็กได้รับยาไม่ครบตามจำนวนที่ควรจะเป็น นอกจากนั้น ยาบางชนิดอาจทำให้รสชาดของนมเสียไป อาจส่งผลให้เด็กไม่อยากกินนมอีกด้วย |
|
5. |
ไม่ควรให้ยาพร้อมกับอาหารที่จำเป็นต่อเด็ก เพราะจะทำให้เด็กปฏิเสธอาหารเหล่านั้นในภายหลัง |
|
6. |
ใช้อุปกรณ์มาตรฐานในการตวงยาให้เด็ก ไม่ควรใช้ช้อนทานข้าว หรือช้อนชงกาแฟที่ใช้ในครัว เพราะจะทำให้ได้ปริมาณยาที่ไม่ถูกต้อง และขนาดมาตรฐานในการตวงยา ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายคือ 1 ช้อนชา เท่ากับ 5 มิลลิลิตร และ 1 ช้อนโต๊ะ เท่ากับ 15 มิลลิลิตร |
|