หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
กลิ่นตัว
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


มนุษย์ทุกคนล้วนมีกลิ่นเฉพาะตัวทั้งสิ้น บางคนก็มีกลิ่นเพียงอ่อนๆ ไม่สร้างปัญหาแต่อย่างใด ทว่าบางคนกลับมีกลิ่นตัวที่แรงจนคนรอบข้างต้องถอยหนี เกิดเป็นปัญหาในการเข้าสังคม

กลิ่นตัวอันไม่พึงประสงค์เหล่านี้ สามารถป้องกันได้ด้วยการรักษาความสะอาดและสุขอนามัยที่ดี แต่ผู้ที่มีกลิ่นตัวแรงมักไม่ค่อยรู้ตัว เพราะคุ้นชินกับกลิ่นแรงของตนเองที่อยู่คู่กันมาช้านาน

สาเหตุ

แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ตามผิวหนังที่ชื้นด้วยเหงื่อทำให้เกิดการหมักหมม เป็นต้นเหตุให้เกิดกลิ่นตัวขึ้น โดยปกติร่างกายของคนเรามีต่อมเหงื่อที่ผิวหนัง 2 ชนิด ชนิดแรกเรียกว่า exocrine glands เป็นต่อมเหงื่อที่มีอยู่ตามผิวหนังทั่วตัว อีกชนิดเรียกว่า apocrine glands เป็นต่อมที่อยู่ตามรูขุมขนที่หัวหน่าวและรักแร้ ซึ่งเจริญเติบโตเต็มที่เมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มสาว apocrine glands มีหน้าที่ผลิตไขมันและโปรตีน ซึ่งเกิดเป็นคราบไคลขึ้น เมื่อไขมันและโปรตีนเหล่านี้ถูกหมักหมม (ferment) โดยแบคทีเรียที่ผิวหนัง จึงเกิดกลิ่นเฉพาะตัวอันเป็นต้นเหตุของกลิ่นตัว

กินอาหารที่ปรุงด้วยเครื่องเทศที่มีกลิ่นแรง เช่น กระเทียม หอม ผงกระหรี่ กลิ่นของเครื่องเทศเหล่านี้ถูกขับออกมาทางเหงื่อ ส่งผลให้เหงื่อมีกลิ่นเครื่องเทศ

การดูแลตนเอง

 
•
อาบน้ำบ่อยๆ โดยเฉพาะหลังเหงื่อออกมาก
 
•
ทำความสะอาดร่างกายด้วยการฟอกสบู่ที่ผสมยาฆ่าเชื้อโรค
 
•
ทายาที่ลดการหลั่งเหงื่อบริเวณรักแร้
 
•
ทาแป้งฝุ่นบริเวณข้อพับที่อับชื้น เพื่อช่วยให้ผิวแห้ง ลดความอับชื้นลง
 
•
พบตจแพทย์ (แพทย์ผู้รักษาโรคผิวหนัง) หากดูแลตัวเองดังกล่าวข้างต้นแล้วยังไม่ดีขึ้น

การป้องกัน

 
•
รักษาสุขอนามัยให้ดี ควรอาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
 
•
หลีกเลี่ยงภาวะเหงื่อออกมากโดยใช้พัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ
 
•
ไม่ควรปล่อยให้คราบเหงื่อแห้งติดตัวเป็นเวลานาน หากไม่สามารถอาบน้ำได้ ควรใช้ผ้าเช็ดเหงื่อให้แห้งทุกครั้งหลังเหงื่อออก
 
•
สวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี โดยเฉพาะหากอยู่ในที่ร้อนและชื้น ควรใช้ผ้าฝ้ายแทนผ้าใยสังเคราะห์
 
•
เปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่ทุกวัน ส่วนเสื้อผ้าที่ใช้แล้วต้องนำไปซักให้สะอาด และตากแดดให้แห้งสนิท
 
       
    แหล่งข้อมูล : นิตยสาร HealthToday  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
เชื้อโรคในสิ่งแวดล้อม
 
โชคดีมีออร์แกนิค
 
พิษร้ายของสเตียรอยด์
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.