ภาวะแทรกซ้อนทางไตสามารถป้องกันได้ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่า หากควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ จะป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไตได้ แต่ทั้งนี้ การป้องกัน ต้องทำก่อนที่จะมีโปรตีนในปัสสาวะ หลังจากมีโปรตีนในปัสสาวะแล้ว จะไม่สามารถป้องกันการเกิดโรคไตได้ จะทำได้เพียงชลอการเสื่อมของไต ไม่ให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเท่านั้น ซึ่งจะทำได้อยู่ระยะหนึ่ง ในที่สุดก็จะเกิดภาวะไตวายขึ้น ฉะนั้น การควบคุมน้ำตาลในเลือดให้ได้ตั้งแต่ต้น จึงมีความสำคัญยิ่ง
การรักษาและแนวทางปฏิบัติ เพื่อป้องกัน / ชลอภาวะไตวาย
การรักษาและแนวทางปฏิบัติ ในแต่ละระยะของโรคไม่เหมือนกัน
ระยะที่ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต
การรักษาที่สำคัญในระยะนี้คือต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ โดยมีแนวทางปฏิบัติดังนี้
|
1. |
การควบคุมอาหาร ควรต้องงดการใช้น้ำตาลทุกรูปแบบ ไม่ว่าในขนมหวาน อาหาร หรือ เครื่องดื่ม ส่วนการจำกัดอาหารแป้งนั้น จะทำในกรณีที่น้ำหนักตัวมากเกินไปเท่านั้น |
|
|
รับประทานยาหรือฉีดยา ตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอและเคร่งครัด |
|
3. |
ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ |
ระยะที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต
ในระยะที่มีโปรตีนในปัสสาวะแล้ว ต้องปรับเปลี่ยนการรักษาและแนวทางปฏิบัติ โดยต้องเริ่มจำกัดอาหารโปรตีน และเพิ่มยาที่ช่วยชลอการเสื่อมของไต ในระยะนี้ ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการตรวจรักษา อย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ รวมทั้งการตรวจเลือด เพื่อเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ทั้งจากโรคและผลข้างเคียงของยา หากไตเสื่อมมากขึ้น จนเกิดภาวะไตวาย นอกจากการจำกัดอาหารโปรตีนแล้ว ยังต้องจำกัดน้ำและเกลือแร่ด้วย สำหรับปริมาณของอาหารโปรตีนที่เหมาะสม ตามความรุนแรงของการทำงานของไตที่เสียไปนั้น แพทย์ผู้รักษา จะเป็นผู้ปรับเปลี่ยนและให้คำแนะนำ
ในระยะที่มีภาวะไตวายเกิดขึ้นแล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดมักไม่สูงนัก ส่วนใหญ่ต้องการยารักษาโรคเบาหวาน ในขนาดที่ลดลงหรืออาจหยุดเลยได้ และถ้าต้องการใช้ยา ควรเปลี่ยนเป็นยาชนิดฉีด ส่วนยาชนิดรับประทานควรงด เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้
ในผู้ที่มีภาวะไตวายแล้ว จะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ง่าย ซึ่งอาจต่ำมากจนหมดสติได้
การปรับเปลี่ยนอาหารและยาต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ต้องทำให้เหมาะสมกับสภาวะของร่างกาย ในแต่ระยะของโรค แพทย์ผู้ดูแลรักษา จะเป็นผู้ที่ทราบสภาพของผู้ป่วยดีที่สุดว่า อยู่ในระยะใดของโรค ผู้ป่วยจึงควรปรึกษา และขอคำแนะนำจากแพทย์ที่ให้การรักษาอยู่ แล้วปฏิบัติตาม
ศ.พญ. สุมาลี นิมมานิตย์
|