มะเร็งตับอ่อน เป็นโรคที่พบไม่บ่อยนัก สถิติของสหรัฐอเมริกาพบว่ามีอุบัติการณ์ (คนไข้ใหม่) ปีละประมาณ 25,000 ถึง 30,000 ราย ที่ญี่ปุ่นจัดเป็นมะเร็งอันดับ 5 แต่สำหรับเมืองไทยมะเร็งตับอ่อน เกิดน้อยกว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งเคยอยู่ในอันดับที่ 5 มะเร็งตับอ่อนมักเกิดในคนสูงอายุระหว่าง 60 ถึง 80 ปี แต่อาจจะพบในคนอายุ 40 ปีได้บ้าง (ประมาณ 2%) พบในชายมากกว่าหญิง
ตับอ่อน (pancreas) เป็นอวัยวะที่ยาวประมาณ 6 นิ้ว วางทอดขวางหน้ากระดูกสันหลัง และอยู่หลังกระเพาะอาหาร รูปร่างของมันคล้ายปลาดุก ส่วนหัวอยู่ทางด้านขวาของเจ้าของ ทอดอยู่ในอ้อมกอดของลำไส้เล็กส่วนต้นที่เรียกว่า ดูโอดีนัม (duodenum) ส่วนหางอยู่ทางซ้ายจ่อติดกับม้าม (spleen) ตรงกลางมีหลอดเลือดใหญ่ทอดผ่านหลายหลอด (ทำให้การผ่าตัดยาก) ตับอ่อนทำหน้าที่สร้างน้ำย่อยอาหาร และสร้างฮอร์โมนอินซูลินและกลูคากอน ซึ่งช่วยให้ร่างกายสามารถใช้น้ำตาลในร่างกายได้เป็นปกติ มะเร็งตับอ่อนส่วนมาก (90%) เกิดจากเซลล์ที่หลั่งน้ำย่อย
ตับอ่อนก็เหมือนกับอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย คือเซลล์ของมันสามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นมะเร็งได้ และที่สำคัญคือตอนที่คนไข้มีอาการแล้วไปหาแพทย์ มะเร็งตับอ่อนก็มักจะเป็นมาก จนพ้นจุดที่จะผ่าตัดรักษาให้หายขาดได้แล้ว ดังนั้นความรู้เรื่องมะเร็งตับอ่อน อาจจะช่วยให้คนเราสามารถจะตระหนักถึงอาการของมัน ทำให้มาหาแพทย์ได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งมีผลดีต่อการรักษา
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับอ่อนมีหลายอย่างคือ การสูบบุหรี่ ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง ภาวะหรือโรคที่เป็นมาแต่กำเนิดหลายอย่าง เช่น ตับอ่อนอักเสบจากพันธุกรรม กลุ่มอาการเนื้องอกต่อมไร้ท่อหลายชนิด (MEN type 1) มะเร็งลำไส้ใหญ่แบบพันธุกรรม ที่ไม่เกี่ยวกับโรคติ่งเนื้องอกมากมายในลำไส้ (HNPCC) โรคกลุ่มอาการไฝดำตามตัวมากมายจากพันธุกรรม (FAMMM) สำหรับเบาหวานเรื้อรังยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่ามันเป็นสาเหตุหรือไม่ เมื่อก่อนเคยคิดกันว่าคนดื่มกาแฟมากๆ จะเป็นมะเร็งตับอ่อนได้มากกว่าคนที่ดื่มน้อย
แต่ปัจจุบันนี้ไม่เชื่อกันแล้ว
่ถ้าคุณมีอาการดังต่อไปนี้ควรรีบไปปรึกษาแพทย์
|
|
ดีซ่าน (ตัวเหลืองตาเหลือง) ถ้ามีคนมาทักว่าทำไมตาเหลือง คุณต้องระวัง |
|
|
อาการปวดบริเวณส่วนบนของช่องท้องและร้าวไปหลัง |
|
|
น้ำหนักลดอย่างไม่ทราบสาเหตุ |
|
|
เบื่ออาหาร |
|
|
อ่อนเพลียกว่าปกติ |
เขาศึกษาพบว่าเบาหวานที่เพิ่งตรวจพบใหม่ๆ เป็นสัญญาณบอกเหตุของมะเร็งตับอ่อนอย่างหนึ่ง
การที่โรคมะเร็งตับอ่อนวินิจฉัยได้ยากในระยะเริ่มแรก (ที่สามารถรักษาหายได้) เกิดจากหลายปัจจัย คือ
|
|
อาการแสดงของมะเร็งตับอ่อน ได้แก่ ดีซ่าน (ตัวเหลืองตาเหลือง) อาการปวดท้อง ปวดหลัง และน้ำหนักลด เป็นอาการที่อาจจะเกิดจากโรคอื่นได้เหมือนกัน แพทย์บางคนจึงอาจไม่สงสัยตรวจสืบค้นหามะเร็งตับอ่อน |
|
|
ไม่มีอาการหรืออาการแสดงของมะเร็งตับอ่อนในระยะเริ่มต้น ที่สังเกตเห็นได้ง่ายและแน่ชัด |
|
|
ตับอ่อนทอดตัวอยู่ในที่อับ คือ ถูกห้อมล้อมอยู่โดยอวัยวะอื่นหลายอย่าง แพทย์จึงตรวจโดยการคลำพบได้ยาก |
ถ้าสงสัยว่าจะเป็นมะเร็งตับอ่อนหรือไม่ แพทย์มีวิธีการตรวจหาหรือยืนยันได้หลายวิธี รวมทั้งวิธีต่างๆ ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ แต่อาจจะไม่จำเป็นต้องทำหมดทุกอย่าง ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแพทย์
|
|
การซักประวัติตรวจร่างกาย เป็นสิ่งชี้นำในการตรวจขั้นตอนต่อไป ถ้าเป็นมะเร็งในระยะเริ่มแรก มักจะตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติ หรือคลำได้ก้อน |
|
|
ฉายภาพรังสีปอด เพื่อดูว่ามีมะเร็งแพร่กระจายมายังปอดแล้วหรือยัง ถ้าแพร่มาแล้วก็เป็นสิ่งที่ไม่ดี |
|
|
ซีทีสแกน (CT scan) เป็นเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง ที่ถ่ายกวาดให้เห็นภาพตัดตามขวางของส่วนต่างๆ ในร่างกาย ถ้ามีมะเร็งตับอ่อนส่วนมากจะเห็นได้จากซีทีสแกนนี้ |
|
|
เอ็มอาร์ไอ (MRI) เป็นการถ่ายภาพคอมพิวเตอร์อีกชนิดหนึ่ง ที่ไม่อาศัยรังสีเอกซ์แต่อาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทำให้เห็นภาพถ่ายกวาดของอวัยวะภายใน สามารถตรวจพบมะเร็งตับอ่อนได้ ในบางกรณีจะช่วยเสริมข้อมูลบางอย่างที่ ซีที มองไม่เห็น |
|
|
เพ็ตสแกน (PET scan) (positron emission tomography scan) เป็นเครื่องที่ใช้ตรวจหาเซลล์มะเร็ง โดยอาศัยหลักการที่มะเร็งจับเอาสารกลูโคส ที่ติดฉลากด้วยกัมมันตภาพรังสี ทำให้เครื่องตรวจกวาดเห็นได้ ในบางกรณีต้องใช้เครื่องนี้ช่วย โดยเฉพาะในรายที่ต้องการรู้ว่ามะเร็งแพร่กระจายไปแล้วหรือยัง |
|
|
การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน แล้วตรวจด้วยอัลตราซาวน์บริเวณตับอ่อน (endoscopic ultrasound = EUS) ทำให้สามารถเห็นภาพมะเร็งตับอ่อน และต่อมน้ำเหลืองรอบตับอ่อน ว่ามีมะเร็งแพร่ กระจายไปถึงหรือยัง |
|
|
การส่องกล้องตรวจภายในช่องท้อง (laparoscopy) เป็นการตรวจหามะเร็งและตัดชิ้นเนื้อตรวจ และเพื่อดูว่ามะเร็งที่ตรวจพบโดยวิธีอื่นแล้วนั้น มันแพร่กระจายไปในช่องท้องแล้วหรือไม่ ถ้าแพร่กระจายแล้ว แสดงว่าการผ่าตัดซึ่งเป็นวิธีรักษาให้หายขาดใช้ไม่ได้แล้ว ขืนทำไปคนไข้จะได้รับความเสี่ยงโดยได้ประโยชน์ไม่คุ้มเสีย |
|
|
การส่องกล้องตรวจและฉีดสีเอกซเรย์ท่อน้ำดีและท่อตับอ่อน (endoscopic retrograde cholangiopancreatography หรือย่อว่า ERCP) วิธีนี้ทำให้สามารถบอกได้ว่ามีมะเร็งที่หัวตับอ่อนหรือตัวตับอ่อนหรือไม่ สามารถตัดชิ้นเนื้อเอาไปตรวจยืนยันมะเร็งทางพยาธิสภาพ และถ้ามีการอุดตันของท่อน้ำดีจากมะเร็ง คนส่องกล้องก็สามารถสอดใส่หลอดตะแกรงโลหะ (stent) เพื่อค้ำจุนเปิดท่อไม่ให้ตีบตัน เป็นการรักษาแบบทุเลาอาการดีซ่าน ในกรณีคนที่ไม่สามารถผ่าตัดรักษาให้หายขาดได้แล้ว |
|
|
การตรวจโดยการแทงเข็มผ่านผิวหนังเข้าตับ เพื่อฉีดสารทึบรังสี แล้วเอกซเรย์ดูภาพท่อน้ำดี (percutaneous transhepatic cholangiography หรือย่อว่า PTC) ถ้าตรวจพบว่ามีการอุดตันของท่อน้ำดี ก็จะช่วยการวินิจฉัยและสามารถใส่ stent บรรเทาการอุดตันซึ่งทำให้เกิดอาการดีซ่านด้วย ในบางกรณีถ้าใส่ stent ไม่ได ้เขาก็ใส่ท่อระบายน้ำดีออกสู่ภายนอก การตรวจอย่างนี้จะทำก็ต่อเมื่อการทำ ERCP ทำไม่ได้แล้ว |
|
|
การตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิสภาพ เป็นสิ่งจำเป็นในการวินิจฉัยโรคที่แน่นอนว่า ก้อนเนื้องอกในตับอ่อนเป็น มะเร็ง (เนื้อร้าย) หรือเนื้องอกชนิดไม่ร้าย การตัดชิ้นเนื้ออาจจะทำได้หลายวิธี เช่น การแทงเข็มเล็กๆ ผ่านช่องท้องภายใต้การนำวิถี โดยอัลตราซาวน์หรือเอกซเรย์ การตัดชิ้นเนื้อโดยการส่องกล้องในทางเดินอาหารส่วนต้น ร่วมกับการทำอัลตราซาวน์ หรือโดยการส่องภายในช่องท้องแล้วตัดชิ้นเนื้อ |
การพยากรณ์โรคมะเร็งตับอ่อน อาศัยปัจจัยต่อไปนี้
|
1. |
ผ่าตัดได้หรือไม่ |
|
|
ระยะของมะเร็ง |
|
3. |
สุขภาพทั่วไปของคนไข้ดีหรือไม่ ทนการผ่าตัดได้หรือไม่ |
|
4. |
มะเร็งที่เพิ่งตรวจพบครั้งแรกดีกว่ามะเร็งที่กลับมาเป็นใหม่ |
การรักษามีหลายวิธีขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็ง
มะเร็งในระยะต้นๆ ที่ยังสามารถผ่าตัดเอาออกได้ ก็ควรรักษาด้วยการผ่าตัดเอาออก
การผ่าตัดเอาตับอ่อนออก เป็นการผ่าตัดที่ซับซ้อน เนื่องจากเป็นอวัยวะที่ถูกห้อมล้อมด้วยอวัยวะสำคัญอื่นๆ หลายอย่าง จึงมีความเสี่ยง
|
|
มะเร็งที่ส่วนหัวของตับอ่อน ต้องตัดส่วนต่างๆ เหล่านี้ออกไป คือ หัวตับอ่อน ลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) ท่อน้ำดี กระเพาะอาหารบางส่วน แล้วทำการเย็บต่อลำไส้เข้ากับอวัยวะส่วนที่เหลืออยู่คือ ตับอ่อน กระเพาะอาหาร ท่อน้ำดี เพื่อให้ทำงานได้ปกติ (วิธีนี้เรียกว่า pancreatoduodenectomy หรือ Whipple operation) |
|
|
ถ้าเป็นมะเร็งส่วนลำตัวหรือส่วนหางของตับอ่อน ก็จะต้องผ่าตัดเอาลำตัวและหางของตับอ่อน รวมทั้งม้ามที่ติดอยู่ที่หางตับอ่อนออกไป แล้วทำการเย็บต่อลำไส้เข้าที่ (distal pancreatectomy) |
|
|
ในบางกรณีจำเป็นต้องตัดตับอ่อนออกหมด (total pancreatectomy) |
|
|
ในกรณีที่ตัดออกไม่ได้แล้ว ก็จำเป็นต้องผ่าตัดบรรเทาอาการ เช่น ผ่าตัดป้องกันการอุดตันของลำไส้ หรือส่องกล้องใส่ stent ในลำไส้เล็กป้องกันการอุดตัน |
|
|
ในกรณีที่มะเร็งอยู่ในระยะสูงๆ ผ่าตัดออกไม่ได้แล้ว ก็มีทางเลือกในการรักษาคือการให้เคมีบำบัด และการฉายรังสี เพื่อยับยั้งการขยายตัวของมะเร็ง |
|
|
ในกรณีที่มีอาการปวดท้องจากมะเร็งที่ผ่าตัดออกไม่ได้ นอกจากจะให้ยาแก้ปวดแล้ว ก็มีวิธีการลดความเจ็บปวดได้ โดยการฉีดสารทำลายเส้นประสาทรอบตับอ่อน ที่นำความรู้สึกปวด การฉีดสารทำลายประสาทนี้ อาจจะฉีดโดยศัลยแพทย์ในขณะผ่าตัดหรือฉีดโดยรังสีแพทย์ก็ได้ |
้การรักษามะเร็งตับอ่อน อาจจะมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะจากการผ่าตัดหรือการให้เคมีบำบัด ผู้ป่วยและญาติจึงต้องมีความรู้ในเรื่องนี้ โดยการพูดคุยสอบถามจากแพทย์เจ้าของไข้
การรักษามะเร็งตับอ่อนที่ได้ผลดี คือ ผ่าตัดมะเร็งในระยะต้นๆ ที่ได้รับการตรวจพบอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการที่คนไข้ต้องมีความรู้ ตระหนักถึงอาการได้รวดเร็วด้วย แล้วรีบไปให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยให้ได้ อย่ามัวแต่มะงุมมะงาหรา ลังเล รีรอ เนื่องจากมะเร็งพวกนี้ร้ายแรงและงอกเร็ว
พล.ต.ต.นพ.นริศ เจนวิริยะ ศัลยแพทย์
|