สมาคมมะเร็งวิทยาในประเทศอเมริกาแนะนำว่า
|
|
อายุระหว่าง 20-39 ปี ควรมีการตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละครั้ง ในช่วง 1 สัปดาห์ หลังจากหมดประจำเดือนในแต่ละเดือน |
|
|
อายุระหว่าง 20-39 ปี ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเต้านมทุกๆ 3 ปี หรือทุกปีหากต้องมีการตรวจมะเร็งปากมดลูก (Pap smear) |
|
|
อายุ 40 ปีขึ้นไป ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเต้านมและตรวจแมมโมแกรม เป็นประจำทุกปี หรือตามคำแนะนำของแพทย์ สำหรับผู้หญิงที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม ควรเริ่มตรวจ แมมโมแกรมตั้งแต่อายุ 35 ปี |
ตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างไร ?
ถ้าคุณมีประจำเดือนมาเป็นปกติทุกเดือน ควรตรวจเต้านมด้วยตนเองหลังจากหมดประจำเดือนในแต่ละเดือน ภายใน 1 สัปดาห์ แต่ถ้าอยู่ในวัยหมดประจำเดือน ให้ตรวจในวันแรกของทุกเดือน ส่วนผู้ที่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด ให้ตรวจในวันแรกที่เริ่มรับประทานยาแผงใหม่
การตรวจเต้านมควรทำระหว่างอาบน้ำในตอนเช้า เพราะก้อนเนื้อจะถูกตรวจพบได้ง่ายหากมือและเต้านมยังเปียกอยู่ โดยใช้ฝ่ามือ 3 นิ้ว (ไม่ใช่ปลายนิ้ว) ของนิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนาง คลำขึ้นลงหรือเป็น วงกลม ให้ทั่วทั้งเต้านม รักแร้ และตรวจหัวนมว่ามีของเหลวไหลออกมาหรือไม่
จากนั้นให้ตรวจเต้านมขณะยืนหรือนั่งหน้ากระจก ตรวจทั้งในขณะที่ยกแขนขึ้นและแนบข้างลำตัว มองดูการเปลี่ยนแปลงในขนาดและรูปร่าง ดูรอยบุ๋มและความผิดปกติของหัวนม ต่อจากนั้นให้ตรวจ เต้านมขณะที่นอนหงายกับพื้น วางหมอนใบเล็กๆ หรือผ้าเช็ดตัว หนุนไหล่ข้างที่จะตรวจ ใช้มือขวาตรวจเต้านมข้างซ้าย และใช้มือซ้ายตรวจเต้านมข้างขวา ซึ่งทั้งหมดนี้ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที หาก มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเองควรปรึกษาแพทย์
สัญญาณ-อาการก่อนที่จะเป็นมะเร็งเต้านม ?
ในระยะก่อนเป็นมะเร็งเต้านมนั้นจะไม่มีสัญญาณหรืออาการเตือนใดๆ เลย ดังนั้นการตรวจเต้านมอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยในช่วงที่เซลล์มะเร็งเติบโตจะทำให้มีอาการซึ่งควรรีบพบแพทย์ดังนี้ - มีก้อนเนื้อที่เต้านมหรือใต้วงแขน
|
|
ขนาดและรูปร่างของเต้านมเปลี่ยนไป |
|
|
หัวนมมีของเหลวไหลออกมาหรือมีรูปร่างผิดปกติ |
|
|
มีผื่นแดงหรือตกสะเก็ดของผิวหนังหรือหัวนม |
|
|
มีรอยขรุขระหรือรอยบุ๋มของผิวหนังเต้านม (คล้ายเปลือกส้ม) |
การวินิจฉัยและกำหนดระยะของมะเร็งเต้านม
เมื่อมีการตรวจพบก้อนเนื้อ อาจมีความจำเป็นต้องตรวจ แมมโมแกรม หรืออัลตราซาวด์เต้านมหลายครั้ง โดยการตรวจอัลตราซาวด์เหมาะสำหรับการตรวจดูบริเวณพังผืด และในวัยรุ่นที่เนื้อเยื่อยัง หนาอยู่ อาจจำเป็นต้องตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ (biopsy) ด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อทราบว่าเป็นมะเร็งเต้านมหรือเนื้องอกธรรมดา
มะเร็งเต้านมจะถูกแบ่งเป็นระยะตามการแพร่กระจายของ เซลล์มะเร็งไปยังอวัยวะข้างเคียงและอวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะพวกต่อมน้ำเหลืองต่างๆ ซึ่งระยะของโรค จะช่วยให้แพทย์สามารถพิจารณาเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสม
|