หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงพระบาทห้วยต้ม
ท่องเที่ยว วันหยุด
ท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์
ท่องเที่ยว เชิงนิเวศ
ท่องเที่ยว ข้อมูล อุทยานแห่งชาติ
 


บ้านพระบาทห้วยต้ม ในอดีตนั้นไม่ได้เป็นหมู่บ้าน แต่เป็นลักษณะของอาศรม ขึ้นกับหมู่ที่ 1 บ้านนาเลี่ยง โดยมี ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา จำพรรษาอยู่ที่อาศรม ช่วงที่ออกพรรษาท่านครูบาได้เดินธุดงค์ไปสอนพุทธศาสนาแก่ชาวไทยภูเขาตามหมู่บ้านต่างๆ ทั้งในเขตจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน และจังหวัดตาก ทำให้เป็นที่รู้จักและเลื่อมใสศรัทธาของชาวไทยภูเขา จนกระทั่งปี 2513 ได้มีการอพยพมาอยู่ใกล้บริเวณวัดพระบาทห้วยต้มเป็นจำนวนมากประมาณ 1,200 ครอบครัว เพื่อที่จะปฏิบัติธรรมและนับถือศาสนาพุทธ ไหว้พระสวดมนต์ ถือศีลเจริญรอยตามคำสอนของครูบาชัยยะวงศาพัฒนา

เมื่อปี 2521 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรที่บ้านพระบาทห้วยต้ม ทรงทอดพระเนตรเห็นสภาพพื้นที่และชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรชาวไทยภูเขา ทรงมีพระราชดำริว่า "หมู่บ้านแห่งนี้ขาดแคลนที่ทำกิน ที่จะปลูกข้าวบริโภคทุกปี ชาวบ้านเป็นโรคขาดสารอาหาร โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ และชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงที่อพยพมาอยู่รวมกันเช่นนี้ จะได้ไม่ไปหักล้างทำลายป่า ลดพื้นที่การปลูกฝิ่นทางอ้อม และจะได้ไม่ไปรับจ้างชาวไทยภูเขาเผ่าอื่นอีกด้วย"

พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ รับหมู่บ้านพระบาทห้วยต้มอยู่ในความดูแลของมูลนิธิโครงการหลวง
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงพระบาทห้วยต้ม พื้นที่ตั้งอยู่ที่ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ห่างจากจังหวัดเชียงใหม่ 173 กิโลเมตร พื้นที่รับผิดชอบประมาณ 24,630 ไร่ การปกครองแบ่งออกเป็น 9 หมู่บ้าน ปัจจุบันมีประชากรประมาณ 7,850 คน ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปจะมีลำน้ำไหลผ่านกลางพื้นที่ สองฝั่งลำน้ำเป็นที่ราบลุ่ม

การปฏิบัติงานภายในศูนย์ได้แบ่งพื้นที่เป็นพื้นที่ทำการเกษตร 13,200 ไร่ พื้นที่ป่าสาธารณะ 2,458 ไร่ ป่าอนุรักษ์ 2,606 ไร่ ปลูกป่าปรับปรุงสภาพนิเวศน์ 1,413 ไร่ สร้างอ่างเก็บน้ำโครงการพระราชดำริ 3 แห่ง คือ อ่างเก็บน้ำแม่ลอง อ่างเก็บน้ำแม่ปูน้อย และอ่างเก็บน้ำแม่ปูหลวง นอกนั้นเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ

ภายในศูนย์จะมีนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญปฏิบัติงานทดสอบและสาธิตภายในศูนย์ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ประเภทพืชผัก สาธิตพืชผักที่แปลกใหม่ ได้แก่ ฟักบัตเตอร์นัต ฟักจานบิน ฟักคอหงส์ และพริกเม็กซิกันเผ็ดและหวาน สาธิตผักที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก ได้แก่ มะเขือม่วงก้านดำ คะน้ายอดดอยคำ ไม้ผล ประเภทไม้ผล สาธิตการปลูกไม้ผลเมืองร้อน ได้แก่ มะม่วงพันธุ์จากต่างประเทศ มะเฟืองสายพันธุ์ไต้หวัน มะปราง เสาวรสพันธุ์รับประทานผลสด และมะละกอพันธุ์ปากช่อง ประเภทไม้ดอกไม้ประดับ สาธิตการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ การปลูกกุหลาบหนู ประเภทพืชสมุนไพร ได้แก่ ตะไคร้หอม เพื่อนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย

บ้านพระบาทห้วยต้ม ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง ที่ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างเหนียวแน่น ทุกวันพระจะทำบุญตักบาตรหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวขึ้นยุ้งฉางแล้ว จะมีประเพณีทำบุญข้าวใหม่ ประมาณเดือนมกราคม การแสดงทางวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง ได้แก่ การวิ่งขาหยั่ง การฟ้อนดาบ การเป่าเขาควาย มวยมะโน การเล่นดนตรีพื้นบ้าน และการฟ้อนสาวไหม ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ยังคงอนุรักษ์ไว้คือ การทำเครื่องเงินที่ใช้วัตถุดิบเป็นเงินแท้ 100% มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่ากะเหรี่ยง การทอผ้าพื้นบ้านโดยใช้กี่กระตุก ใช้วัสดุธรรมชาติในท้องถิ่นย้อมสี มีลวดลายโบราณ งานหัตถกรรมจักสานจากไม้ไผ่ที่ทำด้วยมือ รูปทรงสวยงาม เช่น ตะกร้าใส่เสื้อผ้า ตะกร้าใส่ผัก ตะกร้าบรรจุขวดไวน์ กรอบรูปจากไม้ไผ่ การใช้กะลามะพร้าวทำเป็นสร้อย มีหลากหลายรูปแบบ เช่น สร้อยคอ สร้อยข้อมือ โคมไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังมีการทำเครื่องมือทางการเกษตร เช่น มีด จอบ เสียม คราด ฯลฯ

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงพระบาทห้วยต้ม นอกจากเป็นศูนย์ศึกษาวิจัยและสาธิตทางการเกษตรแล้ว ยังเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตรด้วย สนใจติดต่อได้ที่ โทรศัพท์

รายละเอียดเกี่ยวกับศูนย์พัฒนาโครงการหลวงพระบาทห้วยต้ม

ที่ตั้ง : สำนักพัฒนาเกษตรที่สูง 65 หมู่ 1 ถนนสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
สอบถามรายละเีอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 053-281238
หรือที่ศูนย์ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน โทร. 053-518059
 
       
    แหล่งข้อมูล : www.matichon.co.th  
   
สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
 
ดอนหอยหลอด
 
ดงบัง - หมู่บ้านท่องเที่ยวสมุนไพร
 
ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า
 
เกษตรที่สูงเขาค้อ
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.