สาเหตุของอาการก่อนมีประจำเดือนนั้น ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด โดยอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมน ในรอบเดือนของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ หรือเป็นผลสะสมที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในระยะยาว จึงทำให้ผู้หญิงที่เคยตั้งครรภ์มาก่อน เกิดอาการก่อนมีประจำเดือนได้มากกว่า ผู้หญิงกลุ่มอื่น
อาการก่อนมีประจำเดือนพบบ่อย ได้แก่ อ่อนเพลีย ท้องอืด ปวดหลัง เจ็บเต้านม ปวดศีรษะข้างเดียว และปวดตามข้อ นอกจากนี้อาจมีอาการทางจิตใจร่วมด้วย เช่น อารมณ์เปลี่ยนแปลง ซึมเศร้า และวิตกกังวล
ที่สำคัญ อาการอย่างหนึ่งที่มักเกิดก่อนมีประจำเดือนคือ ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ผลที่ตามมาคือ อาการง่วง ซึม ขาดสมาธิ และอยากกินของหวานๆ
วิธีแก้ไขอาการก่อนมีประจำเดือน
|
1. |
กินอาหารที่อุดมด้วยคาร์โบไฮเดรตครบส่วน เช่น ข้าวซ้อมมือ |
|
|
สูบบุหรี่ให้น้อยลงหรือเลิกสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง |
|
3. |
ลดปริมาณเกลือในอาหาร เพราะเกลือทำให้เกิดอาการน้ำคั่งในร่างกาย |
|
4. |
กินผักผลไม้สดมากๆ เพื่อป้องกันท้องผูก |
|
5. |
หากอยู่ในระหว่างกินยาเม็ดคุมกำเนิด ให้หยุดยา 2- 3 เดือน เพื่อดูว่าอาการจะดีขึ้นหรือไม่ |
|
6. |
กำหนดวันนัดหมายธุระ หรืองานเลี้ยงสำคัญนอกช่วงมีประจำเดือน |
|
7. |
ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ จะช่วยบรรเทาอาการก่อนมีประจำเดือนได้ |
นอกจากผู้หญิงบางส่วนจะมีอาการก่อนมีประจำเดือนแล้ว ในระหว่างที่มีประจำเดือน ผู้หญิงบางคนก็ยังต้องทุกข์ทรมานกับอาการปวดประจำเดือนอีกด้วย
ปวดประจำเดือน
อาการปวดประจำเดือน จะเริ่มมีอาการก่อนมีประจำเดือนไม่กี่ชั่วโมง และเป็นอยู่ตลอดช่วง 2-3 วันแรกของการปวดประจำเดือน โดยมีอาการปวดบิดเป็นพักๆ ที่บริเวณท้องน้อย บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ ท้องเดิน ใจคอหงุดหงิดร่วมด้วย ถ้าปวดรุนแรงอาจมีเหงื่อออก ตัวเย็น มือเท้าเย็นได้
ส่วนใหญ่คนที่มีอาการปวดประจำเดือน มักจะไม่ทราบสาเหตุ สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากความไม่สมดุล ของสารโพรสตาแกลนดิน ซึ่งทำหน้าที่ช่วยปิดรูหลอดเลือดที่รั่ว และทำให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบตัว เพื่อขับเยื่อบุมดลูกที่ลอกออกมาเป็นระดู ปรกติแล้วอาการปวดประจำเดือน จะเกิดกับหญิงสาวที่รอบเดือนยังคลาดเคลื่อนอยู่ อาการปวดประจำเดือนมักจะหายไป หลังจากมีลูกคนแรก หรือเมื่อกินยาเม็ดคุมกำเนิด
คลายปวดประจำเดือน
กินอาหารที่มีวิตามินซี วิตามินอี แคลเซียม และแมกนีเซียมให้มากขึ้น จะช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้เหมือนกัน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสารอาหารเหล่านี้ ช่วยให้ผนังหลอดเลือดคลายตัว จึงลดการปวดเกร็งหรือเป็นตะคริวได้ อาหารที่มีวิตามินซี ได้แก่ ผักสดและผลไม้ อาหารที่มีวิตามินอี เช่น น้ำมันพืช จมูกข้าวสาลีและเมล็ดทานตะวัน เป็นต้น ส่วนแหล่งที่ดีของธาตุแคลเซียมคือ อาหารทะเล ส่วนแมกนีเซียมพบในถั่วเมล็ดแห้ง เป็นต้น
นอกจากนี้ การนอนพักผ่อน ใช้ถุงร้อนประคบ และควรทำจิตใจให้สบายไม่เครียด ก็จะช่วยลดอาการปวดท้องได้
ข้อควรสังเกต
|
1. |
อาการปวดประจำเดือนมากเมื่ออายุมากขึ้น อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกงอกผิดที่ อุ้งเชิงกรานอักเสบ มดลูกอักเสบ ถุงน้ำที่รังไข่ เนื้องอก เป็นต้น จึงควรปรึกษาแพทย์ |
|
|
ประจำเดือนขาด มักมีสาเหตุมาจากการตั้งครรภ์เป็นส่วนใหญ่ แต่ยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่อาจทำให้ประจำเดือนขาด หรือมาไม่สม่ำเสมอได้ เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปรกติ ความอ้วน โรคเบาหวาน การออกกำลังกายหักโหม การลดน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว ความเครียด ปัญหาทางอารมณ์ หรือแม้แต่การเดินทางโดยสารเครื่องบิน ก็อาจทำให้รอบเดือนผิดปรกติได้ |
|
3. |
ประจำเดือนมามากผิดปรกติ มักจะเกิดกับเด็กสาวที่เริ่มมีประจำเดือน หรือกับสตรีที่ถึงวัยใกล้หมดประจำเดือน ผู้หญิงที่ใช้ห่วงคุมกำเนิดก็อาจเกิดอาการนี้ได้ เมื่อประจำเดือนมามากผิดปรกติ อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคโลหิตจางได้ จึงควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ผักใบสีเขียวเข้ม เป็นต้น |
นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 140
|