|
|
ความเครียด เป็นสภาวะที่บุคคลรู้สึกไม่เป็นสุข ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเอง หรือจากการถูกเร้าด้วยบางสิ่งบางอย่าง ในสิ่งแวดล้อมที่อยู่ก็ได้ มีผู้จำแนกที่มา และการแสดงออกของความเครียดไว้ ดังนี้
|
|
จากสิ่งเร้า เช่นความกดดันจากเวลา ความคับข้องใจ ในความสัมพันธ์กับคนบางคน หรืออุบัติเหตุ (Brief & George,1995 ; Kahn & Byosiere,1992) |
|
|
เป็นเรื่องของการที่บุคคลรับรู้ คาดหวัง ตีความ และจัดการกับสถานการณ์ต่างๆ ที่ประสบ (Lazarus,1966) |
|
|
เกิดจากการที่ความต้องการของบุคคล ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่เป็นจริง ในสิ่งแวดล้อม (Edwards,1992) |
|
|
อาการทางสรีระต่างๆ เป็นสิ่งที่บอกถึง การมีความเครียดกดดันอยู่ เช่นเหงื่อออกมาก ใจสั่น หายใจหอบถี่ หน้าซีด ปวดท้อง ปั่นป่วน วิงเวียน ปวดศีรษะ ฯ ที่ไม่พบ |
สาเหตุทางกาย (Selye,1956)
ความเครียดในที่ทำงานมาจาก
|
|
สิ่งเร้าทางกายภาพ เช่น มลพิษต่างๆในที่ทำงานทั้งกลิ่น เสียง ฝุ่น ความร้อน ความเย็น สารเคมี สารพิษ ความสกปรก |
|
|
ลักษณะงาน เช่นความกดดันจากเวลางาน งานหนักหรือซับซ้อน งานซ้ำซากจำเจ หรือเครื่องมืออุปกรณ์ไม่สมบูรณ์ หรือเสียบ่อย |
|
|
บทบาท เช่นไม่ชัดเจนหรือขัดแย้งกัน มีการทำงานที่ทับซ้อน หรือก้าวก่ายกัน |
|
|
ลักษณะสังคม เช่นมีปัญหากับหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน มีปัญหาการปรับตัวทางเพศที่ไม่เหมาะสม มีม็อบ และความรุนแรง หรือการที่ต้องทำงานกับคนที่เรื่องมาก จุกจิกจู้จี้กับเรื่องไม่เป็นเรื่อง |
|
|
เวลางาน เช่น ระยะเวลาทำงาน การเข้าเวร หรือทำงานเป็นกะ การมีช่วงเวลาทำงานที่นานเกินไป หรือการทำงานล่วงเวลา |
|
|
ตำแหน่งงาน เช่น ความมั่นคง และโอกาสของความก้าวหน้ามีน้อย |
|
|
อุบัติเหตุ เช่น การประสบอุบัติเหตุจากงานที่ทำ ทำงานที่เสี่ยงอันตราย หรือการได้รับพิบัติภัยของที่ทำงาน กลุ่มทหาร ตำรวจ หรือพนักงานดับเพลิงอยู่ในกลุ่มเสี่ยงนี้ |
|
|
การเปลี่ยนแปลงขององค์กร เช่น การต้องรวมกับที่อื่น เพื่อความอยู่รอด การลดขนาด รวมทั้งการนำเครื่องไม้เครื่องมือทันสมัยมาใช้ อาจจะทำให้รู้สึกหวั่นไหว ต่อความมั่นคงในงานได้ |
ความคิดความเชื่อที่นำไปสู่ความเครียด
|
|
แสวงหาความพึงพอใจอย่างฉาบฉวย เพ้อฝันสร้างวิมานในอากาศ |
|
|
เลี่ยงการทำงานให้สำเร็จ ผัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อยๆ |
|
|
เฉื่อยชา ไม่เรียนรู้จากประสบการณ์ ทำให้ทำผิดซ้ำๆ |
|
|
ไม่อดทนต่อสิ่งที่มากระทบ หันไปหลงใหลไสยศาสตร์ |
|
|
จู้จี้เจ้าระเบียบ ไม่ยืดหยุ่น |
|
|
หลีกเลี่ยงที่จะพัฒนาตัวเอง ฯลฯ |
ความคิดความเชื่อที่ทำให้ปรับตัวได้
|
|
ยอมรับความเป็นจริงในภาวะต่างๆ และพร้อมที่จะเผชิญหน้า และแก้ไขอย่างยืดหยุ่น |
|
|
เชื่อมั่นในตนเอง และมีความมั่นคงเข้มแข็งทางจิตใจ |
|
|
ยอมรับปมด้อยของตัวเอง แต่ไม่ท้อถอยที่จะสร้างสิ่งทดแทน |
|
|
ขอความช่วยเหลือจากคนข้างเคียง หรือสังคมในแง่กำลังใจ วัตถุ เงินทองเมือจำเป็น |
|
|
ระมัดระวังป้องกันอันตรายอย่างเหมาะสม |
|
|
ใจกว้าง สนใจ และสามารถยอมรับความคิดเห็นคนอื่นๆ ได้ |
|
|
เรียนรู้จากความผิดพลาด |
|
|
มีความมุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพในการดำเนินชีวิต |
เทคนิคการผ่อนคลายความเครียด
|
1. |
ระบายกับบุคคลที่ไว้วางใจ |
|
|
ทำงานอดิเรกที่ชอบเช่น กีฬา / ดนตรี / ศิลปะ / ปลูกต้นไม้ / เลี้ยงสัตว์เลี้ยง |
|
3. |
ฝึกการหายใจอย่างถูกต้อง ให้อ็อกซิเจนเข้าถึงปอดได้เต็มที่ |
|
4. |
สร้างจินตนาการถึงสิ่งที่ทำให้มีความสุข และรู้สึกผ่อนคลาย |
|
5. |
ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เพื่อลดความตึงเครียดทางร่างกาย จิตใจก็จะผ่อนคลายตามมา |
|
6. |
การปรับความคิดให้เหมาะสม คือ อยู่กับสิ่งที่กำลังเป็นอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ติดอยู่กับเรื่องในอดีตที่ผ่านไปแล้ว หรือกังวลกับเรื่องในอนาคต ที่ยังมาไม่ถึงมากเกินไป |
|
7. |
การผ่อนคลายด้วยวิถีตะวันออก เช่นการทำสมาธิ โยคะ ชิกง ไท้เก็ก การนวด การทำอโรม่า เป็นต้น |
รศ. พญ. กนกรัตน์ สุขะตุงคะ
|
|