หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
เมื่อเกิดอาการนอนไม่หลับ
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


สาเหตุของอาการนอนไม่หลับแบบเฉียบพลัน ได้แก่

 
•
ความเครียดอย่างรุนแรงในชีวิต (การเปลี่ยนหรือสูญเสียงาน, การเสียชีวิตของคนใกล้ชิด, การเปลี่ยนที่อยู่)
 
•
ความเจ็บป่วยของจิตใจและร่างกาย
 
•
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น เสียง แสง หรือ อุณหภูมิร้อนจัดเย็นจัด
 
•
การเปลี่ยนแปลงกิจวัตรการนอนอย่างกะทันหัน เช่น เจ็ตแล็ก (jet lag) การเปลี่ยนเวลานอนจากกลางคืนเป็นกลางวัน

สาเหตุของการนอนไม่หลับเรื้อรัง

 
•
โรคซึมเศร้า
 
•
ความเครียดติดต่อกันเป็นเวลานาน
 
•
ความเจ็บป่วยหรือความไม่สบายตัวในช่วงเวลากลางคืน

คุณกำลังเข้าสู่ภาวะของโรคนอนไม่หลับหรือเปล่า ?

อาการของโรคนอนไม่หลับ

 
•
งีบหลับระหว่างวัน
 
•
รู้สึกอ่อนเพลียเป็นประจำ
 
•
ฉุนเฉียวง่าย
 
•
มีปัญหากับการจดจ่อหรือตั้งสมาธิกับเรื่องต่างๆ

มีวิธีวินิจฉับโรคนอนไม่หลับอย่างไร

ถ้าคุณกำลังสงสัยว่าตัวเองเป็นโรคนอนไม่หลับ ควรไปพบแพทย์โดยเร็ว การวินิจฉัยจะครอบคลุมทั้งการตรวจร่างกายภายนอก การศึกษาประวัติทางการแพทย์ ประวัติการนอนหลับ แพทย์อาจขอร้องให้คุณทำไดอารี่การนอนหลับเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ เพื่อแพทย์จะได้ทราบถึงแบบแผนการนอนและอารมณ์ความรู้สึกของคุณระหว่างนั้น บางกรณีแพทย์อาจต้องการพูดคุยกับคนที่นอนข้างๆ คุณด้วย เพราะเขาหรือเธออาจให้ข้อมูลที่มีประโยชน์เกี่ยวกับการนอนหลับของคุณ หรือคุณอาจต้องค้างคืนที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์เข้าใจพฤติกรรมการนอนหลับของคุณได้อย่างถูกต้อง

การรักษาโรคนอนไม่หลับ

อาการนอนไม่หลับแบบเฉียบพลัน ไม่จำเป็นต้องอาศัยการรักษา เพราะเมื่อสาเหตุอันทำให้นอนไม่หลับหมดไป หรือปรับตัวได้อาการตาค้างในยามกลางคืนก็จะหายไปเอง สำหรับโรคนอนไม่หลับอย่างอ่อน สามารถป้องกันหรือแก้ไขได้โดยการฝึกนิสัยการนอนที่ถูกต้อง แต่ถ้าปัญหาการนอนไม่หลับเริ่มส่งผลต่อการทำงานในเวลากลางวัน โดยการทำให้คุณรู้สึกง่วงงุนและเหนื่อยล้า แพทย์อาจสั่งยานอนหลับให้รับประทานชั่วระยะหนึ่ง การรักษาตั้งแต่อาการยังไม่รุนแรงช่วยร่นระยะเวลาการรักษาได้มาก และไม่ควรซื้อยานอนหลับมากรับประทานเองอย่างเด็ดขาด

การรักษาโรคนอนไม่หลับแบบเรื้อรัง จะเริ่มต้นจากการรักษาสภาวะปัญหาสุขภาพแฝงเร้น ที่เป็นสาเหตุของโรค และถ้าอาการยังไม่ทุเลา แพทย์อาจแนะนำให้ทำพฤติกรรมบำบัด เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมที่เพิ่มความรุนแรงให้กับโรคนอนไม่หลับ และเรียนรู้สุขลักษณะนิสัยที่ช่วยกระตุ้นความง่วงเหงาหาวนอน เทคนิคแบบนี้มีตั้งแต่การออกกำลังกายเพื่อความผ่อนคลาย การขจัดข้อจำกัดในการนอนหลับ หรือหรับสภาวะร่างกาย

สุขลักษณะและนิสัยที่ช่วยให้หลับง่าย – เคล็ดลับเพื่อการนอนหลับผันดีมีดังต่อไปนี้

 
•
พยายามเข้านอนเวลาเดียวกันทุกคืน และตื่นในเวลาเดียวกันทุกเช้า อย่านอนหรือแอบงีบในยามกลางวัน เพราะจะทำให้ตาแข็งตอนกลางคืน
 
•
หลีกเลี่ยงกาเฟอีน นิโคติน และแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะช่วงใกล้ถึงเวลานอน เพราะกาเฟอีนและนิโคตินจะกระตุ้นให้ร่างกายกระฉับกระเฉงซึ่งไม่เหมาะกับการเข้านอนแน่ ส่วนแอลกอฮอล์จะทำให้หลับไม่สนิท
 
•
ออกกำลังกายเป็นประจำแต่อย่าออกในเวลาใกล้เข้านอน อย่างน้อยต้องเว้นระยะห่างไว้ 3 ชั่วโมง เพราะจะทำให้ร่างกายตื่นตัวและหลับยาก
 
•
อย่ารับประทานอาหารมื้อใหญ่ก่อนเข้านอน เลือกของว่างที่มีคุณค่าทางอาหารสูงดีกว่า
 
•
ปรับปรุงห้องนอนให้ชวนนิทรา ห้องนอนควรจะมืด สงบและเงียบ ไม่หนาวไม่ร้อนจนเกินไป ถ้าปัญหาคือเรื่องแสงสว่าง ลองใช้หน้ากากสำหรับปิดตา ถ้ามีปัญหาเรื่องมลภาวะทางเสียงก็ลองใช้ที่อุดหู หรือเปิดเพลงโปรดฟังจังหวะช้าๆ ฟังเพื่อกลบเสียงรกหูเหล่านั้น
 
•
ทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายก่อนเข้านอน เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง แช่ตัวในน้ำอุ่น เป็นต้น
 
•
หลีกเลี่ยงการใช้เตียงเพื่อทำกิจกรรมอย่างอื่นนอกเหนือจากการนอนหลับและเซ็กซ์
 
•
ถ้าคุณนอนไม่หลับไม่รู้สึกง่วง อย่าเสียเวลานอนพลิกไปพลิกมาอยู่บนเตียง ลุกขึ้นมาอ่านหนังสือหรือทำอย่างอื่นที่ไม่ต้องใช้แรงงานมากนัก จนกว่าคุณจะเริ่มตาปรือ
 
•
ถ้าความกังวลเกี่ยวกับเรื่องโน้นเรื่องนี้ คือ สาเหตุที่คุณไม่อาจข่มตาให้หลับได้ ลองเขียนรายการสิ่งที่ต้องทำก่อนเข้านอน และวางแผนคร่าวๆ ว่าจะทำอะไรก่อนหลัง สิ่งเหล่านี้จะช่วยคลายความกังวลและทำให้หลับง่ายขึ้น
 
       
    แหล่งข้อมูล : นิตยสาร Alternative Medicine  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
บันได 5 ขั้น สู่ชีวิตใหม่ ที่มีค่าและเป็นสุข
 
คู่มือคลายเครียด (1)
 
วิธีขับไล่ความโกรธเกรี้ยว
 
(คุณคิดว่า) คุณเป็นโรคนอนไม่หลับ
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.