|
1. |
ขณะที่ผู้ป่วยกำลังมีอาการทางจิต ญาติควรเข้าใจว่าผู้ป่วยไม่ได้แกล้งทำ หรือดื้อไม่เชื่อฟัง แต่เป็นอาการป่วยจริงๆ จนกว่าจะตอบสนองต่อยารักษาโรคจิต จึงควรพบจิตแพทย์สม่ำเสมอ |
|
|
ผู้ป่วยที่มีอาการระแวงว่ามีคนจะมาทำร้าย ถ้าญาติพยายามอธิบายว่า ไม่จริงจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่า ไม่เข้าใจเขา จึงควรรับฟังในสิ่งที่ผู้ป่วยพูดโดยไม่เสริมในอาการหลงผิด ของผู้ป่วยและแสดงความเห็นอกเห็นใจในความกลัวของผู้ป่วย ก็จะทำให้ผู้ป่วยสงบลงได้ |
|
3. |
ผู้ป่วยที่เฉื่อย ซึมแยกตัวควรกระตุ้นให้ผู้ป่วย ได้มีกิจกรรมร่วมกับสมาชิกในครอบครัว แต่จะต้องระวัง ให้ค่อยเป็นค่อยไปตามความเหมาะสม |
|
4. |
ผู้ป่วยที่หงุดหงิด โมโหง่าย ก้าวร้าว ญาติควรหลีกเลี่ยง การโต้แย้งกับผู้ป่วย พูดกับผู้ป่วยด้วยท่าทีที่ไม่มั่นคง น้ำเสียงนุ่มนวล เก็บของใช้ที่แหลมคม และเป็นอันตรายให้มิดชิด ถ้าผู้ป่วยอาการรุนแรงมากขึ้น ควรนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล |
|
5. |
ถ้าผู้ป่วยนอนไม่หลับติดต่อกัน 3 คืน อาจเป็นอาการเตือนก่อนมีการกำเริบของโรค ญาติควรพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ ที่โรงพยาบาล |
|
6. |
รับฟังความคิดเห็น และความรู้สึกของผู้ป่วย ด้วยความเข้าใจ และเห็นใจให้ความรัก ความอบอุ่นแก่ผู้ป่วยตามสมควร |
|
7. |
ดูแลผู้ป่วยให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ เช่น กระตุ้นให้ช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด เช่น |
|
|
|
|
อาบน้ำ แต่งตัวเอง ซักผ้า |
|
|
ให้ช่วยทำงานบ้านง่ายๆ เช่น รดน้ำต้นไม้ ล้างชาม ให้ประกอบอาชีพเดิม |
|
|
ที่เคยทำอยู่ตามความสามารถของผู้ป่วยเท่าที่พอจะทำได้ |
|
|
ให้ประกอบอาชีพใหม่ใกล้บ้าน ตามความสนใจ และความถนัดเท่าที่จะพอทำได้ |
|
|
8. |
ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วย ควรหาเวลาพักผ่อนบ้าง มีอารมณ์ขัน ให้อภัย ไม่ท้อถอย สร้างกำลังใจให้ตัวเองโดยคิดว่า จะต้องสู้เพื่อตัวเรา และคนที่เรารัก |