หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล

เสริมกระดูกไม่ยากอย่างที่คิด

ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


อาการกระดูกพรุน เกิดจากความหนาแน่นของกระดูกที่ลดลงเมื่อมีอายุมากขึ้น แต่การดูแลร่างกายไม่ดีพอ อาการกระดูกพรุนอาจจะถามหาคุณก่อนวันอันควร ผลงานวิจัยล่าสุดในประเทศสหรัฐพบว่า การดื่มกาแฟเพียงวันละ 2 แก้วเท่านั้น ก็มากพอที่จะทำให้กระดูกเปราะบางก่อนเวลาอันควร เพราะกาเฟอีนในกาแฟ จะทำให้ร่างกายขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะ ซึ่งแคลเซียมนั้นเป็นแร่ธาตุที่สำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูก และความเย็นซ่าชื่นใจจากน้ำอัดลมก็มีความสัมพันธ์ต่อสภาวะของกระดูกพรุนเช่นกัน ผลวิจัยชี้ว่าผู้ที่ดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำ จะมีโอกาสเกิดกระดูกพรุนมากกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม 3 – 4 เท่าเลย

หากคุณเป็นผู้หญิงที่อายุ 30 ยังแจ๋ว แต่ความหนาแน่นของกระดูกก็ต้องใส่ใจ ในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้มาก หากไม่อยากกลายเป็นคนแก่ที่กระดูกเปราะบาง แตกหักง่าย โดยเฉพาะกระดูกบริเวณสะโพกที่ใช้โยกคลอน ซึ่งจะสร้างความเจ็บปวดและทรมานมาก โดยเฉพาะผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน ซึ่งความหนาแน่นของกระดูกจะลดลงประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ทุก 1 ปี ในขณะที่การกินอาหารเสริมซึ่งมีส่วนผสมหลักของแร่แคลเซียมนั้น ไม่ได้มีส่วนช่วยเพิ่มความหนาแน่นให้กับกระดูกแต่อย่างใด หากแต่จะช่วยชะลอการสูญเสียความหนาแน่นของกระดูกเท่านั้น

คราวนี้ก็มาถึงเวลาสร้างความแข็งแรงให้กระดูกของคุณด้วยวิธีง่ายๆ ก่อนที่จะสายเกินไป ด้วยการ

 
•
ออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็นการเดิน วิ่ง แอโรบิก เล่นเทนนิส ยกน้ำหนัก กระโดดเชือก ล้วนแล้วแต่ช่วยเสริมความหนาแน่นให้กระดูกได้มากกว่าอาหารเสริมราคาแพงอีก
 
•
อาหารที่มีแคลเซียม แคลเซียมเป็นสารอาหารที่สำคัญที่สุดสำหรับกระดูกและฟัน โดยเฉพาะแคลเซียมในนมและผลิตภัณฑ์จากนม เช่น โยเกิร์ต เนยแข็ง เป็นแคลเซียมที่ดูดซึมได้ดี แต่ควรเลือกนมพร่องมันเนย เพื่อหลีกเลี่ยงการสะสมไขมันส่วนเกินในร่างกาย นอกจากนี้แล้ว อาหารพื้นบ้าน เช่น ปลากรอบ กุ้งแห้ง กะปิ ผักใบเขียว เต้าหู้แผ่น และถั่วเหลือง ก็เป็นอาหารที่มีแคลเซียมสูงเช่นกัน
 
•
คุมน้ำหนักตัว การที่ปล่อยให้น้ำหนักตัวเกินพิกัด นั่นหมายความว่าคุณกำลังเสี่ยงกับการเป็นโรคกระดูกผุมากกว่าผู้ที่มีน้ำหนักตัวได้มาตรฐาน
 
•
เลิกบุหรี่ บุหรี่ จะขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมในลำไส้ ทำให้เกิดสภาวะกระดูกพรุนก่อนเวลาอันควร
 
•
กินวิตามินดี จะช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมในลำไส้ ช่วยเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก โดยเฉพาะนม มีทั้งแคลเซียมและวิตามินดีสูง แต่การบริโภควิตามินดีมากเกินไปก็อาจจะเกิดอันตรายได้
 
       
    แหล่งข้อมูล : นิตยสาร Alternative Medicine  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
โรคเก๊าท์
 
โรคข้อเสื่อม
 
โรคกระดูกพรุน
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.