หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


ปัจจุบันคนไทยมีวิธีชีวิตที่ต้องเร่งรีบขึ้น เครียดมากขึ้น ทั้งปัญหาเศรษฐกิจ จราจร ครอบครัว ไม่มีเวลาพักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่มีเวลาออกกำลังกาย และพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป ประเภทของอาหารเหมือนชาวตะวันตก มีไขมันสูง ทำให้เป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ มีหลักฐานการวิจัยทางการแพทย์ รายงานว่า การออกกำลังกายช่วยป้องกัน การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ และผู้ป่วยที่เป็นแล้ว การออกกำลังกายยังช่วยลดอัตราการตาย จากการเป็นซ้ำของโรค ได้ถึง 25% ในช่วงเวลา 1-3 ปี นอกจากนี้ ยังทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นด้วย

ทำไมผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ จึงควรออกกำลังกาย

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ จะมีสมรรถภาพ (Fitness) ของร่างกายลดลง เพราะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ จะมีอัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น และการบีบตัวให้เลือดออกจากหัวใจ แต่ละครั้งได้ปริมาณน้อยลง ทำให้ปริมาณเลือด ที่หัวใจส่งไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ลดลง เป็นผลให้ปริมาณออกซิเจนสูงสุด ที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ (VO2max) ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกสมรรถภาพของร่างกาย ลดลงด้วย

ในคนปกติถ้านอนนาน 3 สัปดาห์ ค่า VO2max อาจลดลงถึง 25% ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ สามารถเพิ่ม VO2max ได้ประมาณ 20% หลังจากฝึกออกกำลังกายนาน 3 เดือน

ประโยชน์ของการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

 
1.
ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการนอนนาน
 
2.
เพิ่มสมรรถภาพการทำงานของร่างกาย
 
3.
เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ
 
4.
เพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ
 
5.
ลดปัจจัยเสี่ยง ที่เป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ได้แก่ ลดน้ำหนัก ลดไขมัน ลดความดันโลหิต
 
6.
ลดอัตราการตาย จากการเป็นซ้ำของโรค
 
7.
ส่งเสริมสุขภาพจิต ลดอาการเครียด ซึมเศร้า เพิ่มคุณภาพชีวิต

การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคหัวใจ

ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่า เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ควรปรึกษาแพทย์ผู้ให้การรักษา ก่อนจะไปออกกำลังกายเอง ผู้ป่วยอายุเกิน 40 ปี ที่ไม่เคยออกกำลังกายสม่ำเสมอ ที่คิดจะเริ่มออกกำลังกาย ควรไปตรวจร่างกายประจำปี บ้างว่ามีโรคหัวใจหรือไม่ เพราะบางรายไปออกกำลังกายหักโหม จนเป็นลมฟุบไป โดยไม่ทราบว่า ตัวเองเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่น้ำหนักมาก สูบบุหรี่ มีประวัติไขมันในเลือดสูง ระดับโคเลสเตอรอล > 240 มก/เดซิลิตรความดันโลหิตสูง เบาหวาน พ่อ แม่ พี่ หรือน้อง เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบก่อนอายุ 55 ปี

โปรมแกรมการออกกำลังกาย

 
1.
การอบอุ่นร่างกาย (Warm up) เพื่อเตรียมร่างกายให้ระบบกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และระบบไหลเวียน พร้อมก่อนการออกกำลังกาย เพื่อป้องกันการเกิดภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และบาดเจ็บ กล้ามเนื้อ ข้อต่อ โดยการยืดกล้ามเนื้อ เริ่มออกกำลังกายเบาๆ ทำประมาณ 5-10 นาที
 
2.
การออกกำลังกายแบบแอร์โรบิค เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้ออกซิเจนของร่างกาย ต้องเป็นการออกกำลังกายแบบเคลื่อนไหว โดยเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อกลุ่มใหญ่ของแขน ลำตัว เป็นจังหวะอย่างต่อเนื่อง ด้วยความหนัก และเวลาที่มากพอ ที่จะกระตุ้นให้มีการปรับตัว เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ และระบบไหลเวียนเลือด

การออกกำลังกายที่เหมาะสม คือ การเดิน เพราะทำได้ง่าย ปลอดภัยได้ผลดี เดินด้วยความเร็วปานกลาง ให้เหนื่อยเล็กน้อย จับชีพจรตัวเองให้ได้ช่วงชีพจรที่เหมาะสม ประมาณ 60-85 เปอร์เซ็นต์ ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด ที่ได้จากการทดสอบ โดยการออกกำลังกาย หรือใช้ค่าประมาณ 20-25 ครั้ง/นาที เพิ่มจากอัตราการเต้นหัวใจขณะพัก เมื่อเดินได้ 10 นาที ค่อยๆ เพิ่มเวลา เช่น เพิ่ม 5 นาที ทุกสัปดาห์ จนสามารถเดินได้ 20-30 นาที จากนั้นจึงค่อยๆ เพิ่มความเร็วของการเดิน ถ้าเหนื่อยมาก หรือมีการเจ็บหน้าอก หรือได้อัตราการเต้นหัวใจสูงกว่า อัตราการเต้นหัวใจที่เหมาะสม ควรหยุด ตัวอย่างเช่น ถ้าทดสอบจากการออกกำลังกาย (Stress test) ได้อัตราการเต้นหัวใจสูงสุด ประมาณ 160 ครั้ง (ในบุคคลปกติ อัตราการเต้นหัวใจสูงสุด ประมาณ 220-อายุ) อัตราการเต้นหัวใจที่เหมาะสม ขณะออกกำลังกายประมาณ 60-85 เปอร์เซ็นต์ เท่ากับ 96-136 ครั้ง ความถี่ของการออกกำลังกาย ประมาณ 3-5 ครั้ง/สัปดาห์ 
 
3.
การออกกำลังกายเบาๆ หลังการออกกำลังกาย (Cool down) มีความสำคัญในการป้องกัน ภาวะความดันเลือดตกหลังออกกำลัง ช่วยเร่งการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อ และระบบไหลเวียนเลือด การหยุดออกกำลังทันที จะทำให้เลือดที่ไหลกลับหัวใจลดลงทันที ลดปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกได้ หลังจากเดินทุกครั้งไม่ให้หยุดทันที ต้องเดินช้าๆ ต่ออีก 5-10 นาทีเสมอ

นอกจากการเดิน อาจใช้วิ่งบนสายพาน หรือปั่นจักรยานอยู่กับที่ เต้นแอร์โรบิค ในคนสูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่า ควรปรับอานจักรยานให้พอเหมาะ คนไข้ที่มีปัญหาโรคข้ออาจใช้วิธีว่ายน้ำ

ข้อควรระวังไม่ควรเบ่ง หรือออกแรงเกร็ง ไม่กลั้นหายใจระหว่างออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงการกำมือแน่นๆ และการนอนออกกำลังกาย

นอกจากการออกกำลังกายที่เหมาะสมแล้ว ควรปฏิบัติตนให้ถูกต้อง รู้จักประเมินระดับความเหนื่อย และการจับชีพจรตัวเอง รู้จักอาการและอาการแสดงที่บ่งถึงภาวะผิดปกติ จากการออกกำลังเกินขนาด เช่น เจ็บหน้าอก มึนงง เซ คลื่นไส้ เมื่อท่านสมารถออกกำลังกายได้อย่างสม่ำเสมอ อัตราการเต้นหัวใจขณะพักค่อยๆ ลดลง และประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจจะดีขึ้น และสมรรถภาพร่างกายของท่านจะดีขึ้นด้วย

 

 

 

แพทย์หญิงจิตรา วงศ์วิวัฒนานนท์
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางเวชศาสตร์ฟื้นฟ

 
       
    แหล่งข้อมูล : วารสารโรงพยาบาลรามคำแหง ฉบับที่ 11 - www.ram-hosp.co.th/books  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
โรคหัวใจ
 
ขจัดสี่วายร้ายให้ไกลตัว
 
อาการผิดปกติที่อาจบ่งชี้ว่าเป็นโรคหัวใจ
 
บริหารหัวใจ สลาย ไขมันในหลอดเลือด
 
รอบรู้เรื่องอาหาร ลดปัญหาโคเลสเตอรอล
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.