หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
รับประทานอย่างไร ปลอดภัยจากโรค
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


ในปัจจุบัน คนไทยเราเสียชีวิตด้วย โรคหัวใจ และอัมพาต 1 คน ทุกๆ 9 นาที ส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน ทั้งนี้ เพราะขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจและสมองอย่างกะทันหัน เนื่องจากการตีบ-ตันของหลอดเลือด

หลอดเลือดเกิดการตีบ-ตันได้อย่างไร

มีการบริโภคอาหารจำพวกแป้ง-น้ำตาล และไขมันมากเกินความต้องการ ทำให้มีไขมันในหลอดเลือดเป็นตะกรันเริ่มพอกพูนขึ้น

การป้องกันทำได้อย่างไร

 
•
การป้องกัน จะให้ผลดีต้องเริ่มทำตั้งแต่เด็ก และทำต่อเนื่่องตลอดไป
 
•
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการสะสมของตะกรันไขมัน ที่ต้องงดเด็ดขาด ได้แก่
 
1. การสูบบุหรี่
    2. ระดับไขมันสูง
    3. ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
    4. ความเครียดเรื้อรัง
 
5. ความอ้วน และขาดการออกกำลังกาย

กุญแจสำคัญ ในการลดการสะสมตะกรันไขมัน คือ การออกกำลังกายและกินอาหารให้สมดุล ทั้งชนิดและปริมาณ โดยต้องเหมาะสมกับ เพศ วัย และกิจกรรมประจำวัน ดังนี้

 
•
กลุ่มเด็ก ผู้หญิง ผู้สูงอายุ ควรได้พลังงานวันละ 1,600 กิโลแคลอรี
 
•
กลุ่มวัยรุ่นชาย หญิง ผู้ชายวัยทำงาน ควรได้พลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี
 
•
กลุ่มผู้ใช้แรงงาน เกษตรกร นักกีฬา ควรได้พลังงานวันละ 2,400 กิโลแคลอรี

ปริมาณอาหารที่ควรบริโภคใน 1 วัน

หมวดอาหาร
พลังงานที่ต้องการ (กิโลแคลอรี)
หน่วย
1,600
2,000
2,400
ข้าว-แป้ง
8
10
12
ทัพพี
ผัก
4
5
6
ส่วน
ผลไม้
3
4
5
ส่วน
เนื้อสัตว์
6
9
12
ช้อนกินข้าว
นม
2
1
1
แก้ว
น้ำมัน
4
6
6
ช้อนชา

ผักและผลไม้ ป้องกันโรคหัวใจ

ผักสดและผลไม้มีคุณค่า มีวิตามินมากมาย รวมทั้งสารพฤกษเคมีที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลากหลายชนิด สารเหล่านี้ ทำให้ผักและผลไม้มีสีต่างๆ กัน ในการป้องกันโรคหัวใจ มูลนิธิโรคหัวใจแห่งประเทศไทย แนะนำให้กินผักและผลไม้วันละ 7 สี ทุกๆ วัน เพราะสารพฤกษเคมีที่ให้สี และรสชาติดีเหล่านั้น ล้วนแต่เป็นสารต้านตะกรันไขมันในหลอดเลือด ช่วยชะลอวัย นอกจากนี้ ผักและผลไม้ ยังมีเส้นใยและวุ้นที่ช่วยให้ลำไส้ได้ทำงาน ป้องกันมะเร็งลำไส้ได้

สรุปข้อแนะนำในการเลือกอาหารอย่างง่ายๆ

 
•
ลดอาหารทอดและเนื้อสัตว์ติดมัน
 
•
ใช้น้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว
 
•
เพิ่มการบริโภคผักสด ผลไม้
 
•
ลดอาหารที่มีรสหวานจัด
 
•
ลดอาหารที่มีรสเค็มจัด
 
•
ลดอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง
 
       
    แหล่งข้อมูล : มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
บริโภคอย่างไรจึงจะไม่เป็นโรคหัวใจ
 
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ
 
รอบรู้เรื่องอาหาร ลดปัญหาโคเลสเตอรอล
 
แนวทางการบริโภคอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดี
 
การรับประทานอาหารที่มีเกลือต่ำ
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.