มองไปทางไหน ทางไหน ก็จะเห็นว่าเด็กไทยเราอุดมสมบูรณ์ ออกจะอ้วนๆ ท้วมๆ กันมากขึ้น สมัยก่อนเราอาจมองว่า เด็กอ้วนเป็นเด็กน่าเอ็นดู น่ารัก เลี้ยงง่าย กินง่าย แต่เด็กเหล่านี้ โตกลายเป็นผู้ใหญ่ที่อ้วน ก็อาจมีปัญหาสุขภาพตามมาได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดสมองแตก โรคมะเร็งบางชนิด และโรคข้อกระดูก
เด็กที่มีน้ำหนักเกิน มักมีความเสี่ยงของโรคหัวใจ อย่างน้อย 1 อย่าง เช่น มีระดับโคเลสเตอรรอลสูง ระดับไตรกรีเซอร์ไรด์สูง ระดับอินซูลินสูง มีความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งล้วนดูเหมือนเป็นสิ่งที่ไกลตัว เกินกว่าที่เด็กเล็กๆ หรือวัยรุ่นจะมาห่วง แต่ปัญหาอื่นๆ จากความอ้วนที่อาจมีผล หรือ "อาการ" ที่เด่นชัดมากขึ้น เช่น ปัญหานอนกรน หรือ sleep apnea (เด็กจะหยุดหายใจไปชั่วขณะ ขณะนอน) ปัญหาการทรงตัว หรือเคลื่อนไหวร่างกาย และอาจแตกเนื้อหนุ่มสาวเร็วกว่าวัย เด็กหญิงที่มีประจำเดือนเร็ว จะมีระดับเอสโตรเจนสูง ในระยะเวลาที่นานกว่า ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเต้านม และมะเร็งในรังไข่เมื่ออายุมากขึ้น
ที่น่าเป็นห่วงมากคือ เด็กที่อ้วนจะมีโอกาสเกิดภาวะต้านอินซูลิน ซึ่งเป็นภาวะก่อนเบาหวาน ประเภทที่ 2 หรือเบาหวานในผู้ใหญ่ได้มาก เรามักพบผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกิน หรืออ้วนเป็นเบาหวานกัน แต่ในปัจจุบันเราพบเบาหวานชนิดนี้ เกิดขึ้นในเด็กและวัยรุ่นกันมาก ซึ่งโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน ก็อาจเกิดขึ้นได้เร็วขึ้นด้วย
นอกจากสุขภาพทางกายแล้ว เด็กที่อ้วนอาจเจอกับภาวะทางจิตใจด้วย เช่น เด็กอ้วนอาจขาดความมั่นใจในตนเอง ไม่ชอบรูปร่างของตน อาจถูกเพื่อนล้อและแกล้ง และอาจแยกตนเองออกจากเพื่อนฝูง ครู และครอบครัว
ทำไมเด็กไทยเราจึงอ้วนขึ้นมาก?
คำตอบคงจะไม่ได้มีแค่เหตุผลเดียวเท่านั้น แต่ประวัติครอบครัว การขาดการออกกำลังกาย และการมีพฤติกรรมการกินอยู่ ที่ไม่เหมาะสม ล้วนเป็นเหตุที่ทำให้เด็กมีปัญหา น้ำหนักเกินทั้งสิ้น เด็กที่มีผู้ปกครองท่านใดท่านหนึ่ง หรือทั้งสองท่านอ้วน มีความเสี่ยงต่อความอ้วนมากขึ้น ซึ่งสาเหตุอาจเป็นกรรมพันธุ์ หรือพฤติกรรม หรือทั้งสองอย่างเลยก็ได้ เด็กมักจะเลียนแบบพฤติกรรมต่างๆ จากผู้ปกครองที่บ้าน การรับประทานจุบจิบบ่อยๆ การรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา การขาดการออกกำลังกาย การได้รับแคลอรีมากไป เป็นผลทำให้น้ำหนักเกินได้ทั้งสิ้น
แต่ก็ใช่ว่ากรรมพันธุ์ จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าจะต้องอ้วนไปตลอดชีวิต เด็กจะ "ผอม" ลงได้ ในช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว หรือที่เรียกว่าช่วงยืดตัว ดังนี้เด็กที่อ้วน ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ใหญ่ที่อ้วนเสมอไป แต่ถึงอย่างไรก็ดี ถ้าเด็กไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง โดยเฉพาะการเพิ่มการออกกำลังกาย และรับประทานอาหารให้สมดุล ก็อาจมีความเสี่ยงของโรคอ้วน เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ได้ ดังนี้ การชี้แจงเรื่องน้ำหนักตั้งแต่เนิ่นๆ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในการป้องกันภาวะอ้วน
ข้อแนะนำสำหรับเด็กที่มีน้ำหนักเกิน คือ
|
|
ชะลอการขึ้นของน้ำหนักตัว โดยที่ยังให้มีการเจริญเติบโตด้านความสูงต่อไป |
|
|
ควรพบแพทย์เพื่อตรวจเลือด ถ้าพบว่ามีค่าผิดปกติ ที่มีความเสี่ยงของโรคเบาหวาน แพทย์อาจแนะนำให้ลดน้ำหนักลงบ้าง เพื่อเป็นการป้องกัน และอย่าลืมว่า โปรแกรมการลดน้ำหนักสำหรับผู้ใหญ่ ไม่เหมาะสำหรับเด็ก จึงไม่สมควรนำมาใช้ให้เด็กปฏิบัติตาม |
มีผู้ปกครองหลายท่าน ที่คะยั้นคะยอให้ลูกกินผัก และดื่มนม ทั้งๆ ที่ตนไม่กินผักหรือดื่มนมเลย และวันๆ ก็นั่งอยู่หน้าคอมฯ หรือโทรทัศน์ไม่ยอมออกไปไหน
ครอบครัวมีอิทธิพลในด้านพฤติกรรมการบริโภค การออกกำลังกาย และความคิดด้านการดำเนินชีวิตของเด็ก ผู้ปกครองของเด็กที่มีน้ำหนักเกิน อาจลองตอบคำถามเหล่านี้ดู
คุณ |
ทุกวัน |
ส่วนมาก |
บางครั้ง |
ไม่เคย |
รับประทานอาหารพร้อมกันอย่างน้อย 1 มื้อ |
|
|
|
|
รับประทานอาหารและมื้อว่างเป็นเวลา |
|
|
|
|
ให้ลูกมีส่วนร่วมในการวางแผนเมนู |
|
|
|
|
เลี่ยงการให้รางวัลที่เป็นของกินแก่ลูก |
|
|
|
|
ปิดโทรทัศน์ขณะรับประทานอาหาร |
|
|
|
|
เลี่ยงการบังคับให้ลูกกินอาหารให้หมดจาน |
|
|
|
|
ออกกำลังกายเป็นประจำ |
|
|
|
|
จำกัดเวลาดูโทรทัศน์ไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน |
|
|
|
|
มีกิจกรรมสนุกสนานกับครอบครัวอย่างน้อย 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ |
|
|
|
|
ถ้าผู้ปกครองตอบว่า "บางครั้ง" หรือ "ไม่เคย" กับคำถามส่วนมาก อาจต้องพิจารณาเปลี่ยนวิถีชีวิตบางอย่างที่ทำอยู่
อาหารที่เด็กมีน้ำหนักเิกินรับประทาน ส่วนใหญ่เป็นอาหารประเภทจานเดียว ที่ขาดสีสัน นั่นคือ ผักและผลไม้ และเด็กจะรับประทานอาหารจุบจิบบ่อย ที่มีแป้งและไขมันสูง ซึ่งมีส่วนทำให้ได้รับแคลอรีเกินได้ง่ายๆ นอกจากนี้ต้องดูด้วยว่า ดื่มเครื่องดื่มจำพวกน้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำผลไม้ นมเปรี้ยวบ่อยมากน้อยแค่ไหน เพราะเครื่องดื่มก็เป็นตัวเพิ่มแคลอรีได้ง่ายเช่นกัน ร่วมกับการที่ไม่ออกกำลังกายทุกวัน จึงส่งผลให้น้ำหนักเกินได้
ข้อแนะนำสำหรับคุณพ่อคุณแม่ของเด็กที่มีน้ำหนักเกิน มีดังนี้
|
|
เลี่ยงการควบคุมปริมาณอาหารที่รับประทาน การคุมมากเกินไปอาจส่งผลในทางตรงกันข้าม นั่นคือ เพิ่มความอยาก อาจทำให้เด็กต้อง "แอบ" กิน และรู้สึกแย่ภายหลัง |
|
|
ปล่อยให้ลูกกินอาหารมากเท่าที่อยากจะกิน ฟังดูแล้วผู้ปกครองอาจคิดว่า การทำเช่นนี้จะไม่ทำให้เด็กอ้วนขึ้นหรือ? ข้อนี้อาจจะทำได้ยากสักนิด แต่ผู้ปกครองควรอดทน การที่ผู้ปกครองเป็นผู้กำหนดปริมาณอาหาร ที่ลูกควรรับประทาน จะทำให้ลูกไม่ได้เรียนรู้ วิธีการควบคุมความอิ่มของตนเอง เมื่อไม่ได้อยู่กับผู้ปกครอง เด็กอาจรับประทานมากเกิน เพราะเขาไม่สามารถรับรู้ถึงสัญญาณความอิ่มของตน |
|
|
ให้ทุกคนในครอบครัว หันมาใส่ใจรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จะทำให้เด็กไม่รู้สึกแตกต่างจากผู้อื่น |
|
|
ตักอาหารใส่จานลูก ในสัดส่วนปริมาณของเด็ก ไม่ใช่ปริมาณที่ผู้ใหญ่รับประทานกัน ถ้าหิว สามารถขอเพิ่มได้ |
|
|
เลิกให้รางวัลเป็นขนม |
|
|
อาหารทุกอย่างสามารถเข้ามาอยู่ใน แบบแผนการรับประทานได้ เลี่ยงการกำหนอดว่า อาหารนี้ดี-ไม่ดี ผู้ปกครองควรสอนให้ลูก รู้จักเลือกรับประทานอาหาร เพื่อให้ได้สารอาหารที่สมดุล ถึงแม้ว่าจะมี "อาหารไม่ดี" บ้าง |
|
|
ผู้ปกครองอย่าซื้อขนมมาตุนเอาไว้ที่บ้านเยอะๆ เพราะถ้าเห็นก็จะเพิ่มความอยากทั้งที่ไม่หิว |
|
|
ข้อควรระวัง : เด็กอาจบอกว่าหิว แต่จริงๆ แล้วเขาเบื่อหรืออยากได้ความสนใจ พ่อแม่อาจให้ลูกรับประทานของว่างเป็นผลไม้ ถ้าลูกส่ายหนัาไม่เอา แสดงว่าเขาเบื่อไม่ใช่หิว ผู้ปกครองอาจชวนลูก ออกไปทำกิจกรรมอย่างอื่นแทน |
|
|
รับประทานอาหารให้เป็นเวลา รวมทั้งมื้อว่างด้วย คุณพ่อคุณแม่อาจพกอาหารว่าง ที่ดีมีประโยชน์สำหรับลูกติดตัวไป เวลาไปรับลูกที่โรงเรียน จะได้เลี่ยงการซื้อขนมหน้าโรงเรียน |
|
|
กำหนดให้ทุกคนในครอบครัว รับประทานอาหารที่โต๊ะอาหารเท่านั้น (รวมทั้งมื้อว่างด้วย) และไม่ควรเปิดโทรทัศน์ ขณะรับประทาน เด็กจะตั้งใจรับประทาน ซึ่งส่งผลให้เด็กรับทราบถึง สัญญาณความอิ่มได้ดีกว่า และคงจะกินน้อยกว่าด้วย |
|
|
จำกัดเวลาดูโทรทัศน์ไม่ให้เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน รวมทั้งเวลาที่นั่งเล่นเกมส์ และคอมพิวเตอร์ด้วย ของทั้ง 3 อย่างนี้ ทำให้เด็กไม่ได้ออกไปเล่นใช้กำลัง |
โดยทั่วไปแล้ว อาหารที่เด็กๆ ชอบรับประทาน มักมีคุณค่าทางอาหารต่ำ แต่มีพลังงาน (แคลอรี) สูง เพื่อให้เด็กได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่า ควรเลือกอาหารเหล่านี้ติดบ้านไว้
บ่อยหน่อย |
ไม่บ่อย |
ผักที่มีสีสัน มันเทศ มันต้ม |
เฟรนซ์ฟราย |
ขนมปังแผ่น |
โดนัท ขนมเบเกอรี เพซทร |
ขนมปังกรอบ |
คุกกี้ เค้ก |
ข้าวโพดคั่ว pretzel |
มันฝรั่งทอดกรอบ |
ปลาเส้น สาหร่าย |
ข้าวเกรียบ ขนมถุงต่างๆ |
นมจืดพร่องไขมัน หรือน้ำผลไม้ 100% |
น้ำอัดลม น้ำหวาน |
ผลไม้ ผัก |
ลูกอม เยลล |
โยเกิตรสผลไม้ |
ไอศกรีม |
ไก่ย่าง ไก่อบ |
ไก่ทอด ไก่นักเก็ต |
การที่เด็กได้เรียนรู้การกินอาหารที่มีประโยชน์ โดยที่พ่อแม่ไม่ห้ามจนเกินไป และปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดี จะช่วยให้เด็กเจริญเติบโตด้านความสูงต่อไป แต่ชะลอการขึ้นของน้ำหนักได้ และที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่ต้องชวนลูก ฝึกการออกกำลังกายให้เป็นนิสัยด้วย
การที่เด็กไม่ค่อยมีกิจกรรมการออกกำลังกายมากนัก นอกเหนือจากในชั่วโมงเรียนพละ สัปดาห์ละแค่ 2 ชั่วโมง แถมยังใช้เวลาส่วนใหญ่นั่งเล่นเกมส์ และดูทีวี ถือว่าได้ออกกำลังกายน้อยเกินไปสำหรับเด็กในวัยนี้ สิ่งสำคัญของการมีกิจกรรม หรือการออกกำลังกายสำหรับเด็กวัยนี้ คือโอกาสที่เด็กได้เล่นตามประสาเด็ก (วิ่งเล่น กระโดด ปีนป่าย เป็นต้น) และกิจกรรมนั้นต้องสนุก น่าสนใจ ซึ่งจะทำให้เด็กรักและชอบการออกกำลังกาย นอกจากนี้เด็กจะได้เจอกับเพื่อนๆ หรืออาจจะได้พบเพื่อนใหม่ โดยผลที่ได้จากการมีกิจกรรมในลักษณะนี้ นอกเหนือจากประโยชน์ทางสุขภาพที่ดีแล้ว ยังทำให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอยู่เสมอ ได้เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคม เป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญ ทำให้เมื่อเด็กโตขึ้น จะเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพ ซึ่งคนที่มีส่วนสำคัญ ในการช่วยส่งเสริมให้เด็กได้มีกิจกรรม ในการออกกำลังกายนี้ได้ดีที่สุด คือคุณพ่อ คุณแม่ และคุณครูที่โรงเรียน
กฤษฎี โพธิทัต
นักกำหนดอาหาร
|