หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
มะเร็งรังไข่
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 
มะเร็งรังไข่ เป็นมะเร็งที่พบได้มากเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรีพบ ได้มากในช่วงอายุ 40-60 ปี ในเด็กก่อนหรือหลังวัย 10 ปี ก็อาจพบได้ เนื่องจากธรรมชาติของโรค โตและกระจายรวดเร็วในช่องท้อง สังเกตุได้ยากผู้ป่วยมักมาพบแพทย์เมื่อมีอาการมากแล้ว  เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในหญิง แต่เป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับแรก ของโรคมะเร็งของระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรี ทั้งนี้ เนื่องจากธรรมชาติของโรคที่สามารถโต และกระจายได้อย่างรวดเร็วในช่องท้อง และเป็นตำแหน่งที่สังเกตได้ยาก ผู้ป่วยจึงมักมาพบแพทย์ในระยะที่เป็นมากแล้ว

สา่เหตุ : ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบเหตุส่งเสริมที่ทำให้เกิดมะเร็งรังไข่ ดังนี้ คือ 

 
1.
สภาพแวดล้อม เช่น สารเคมี อาหาร เนื่องจากพบว่าในประเทศ อุตสาหกรรมมีผู้ป่วยเป็น มะเร็งรังไข่มากกว่าประเทศเกษตรกรรม
 
2.
สตรีที่ไม่มีบุตร หรือมีบุตรน้อย 
 
3.
ผู้ที่เคยเป็นมะเร็งที่เต้านม มะเร็งมดลูก และมะเร็งระบบทางเดินอาหาร โอกาสเป็น มะเร็งรังไข่ มีมากกว่าคนปกติ 

สาเหตุไม่ทราบแน่ชัด มักพบในหญิงไม่มีบุตร หรือมีบุตรน้อย เคยเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่ รับประทานอาหารไขมันสูงเป็นประจำ เคยใช้ยากระตุ้นการทำงานของรังไข่เพื่อให้มีบุตร 

อาการ

 
1.
อาจไม่มีอาการ แพทย์ตรวจพบโดยบังเอิญ 
 
2.
มีอาการท้องอืดเป็นประจำ 
 
3.
มีก้อนในท้องน้อย 
 
4.
ปวด แน่นท้อง และถ้าก้อนมะเร็งโตมาก จะกดกระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ส่วนปลาย ทำให้ถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระลำบาก 
 
5.
ในระยะท้ายๆอาจมีน้ำในช่องท้องทำให้ท้องโต ขึ้นกว่าเดิม เบื่ออาหาร ผอมแห้ง น้ำหนักลด 

อาการและอาการแสดง ในระยะเริ่มแรกอาการไม่แน่นอน ปวดท้อง แน่นท้อง น้ำหนักลด เบื่ออาหาร คลำพบก้อนในท้อง หรือในอุ้งเชิงกราน เมื่อก้อนโตขึ้นกดเบียดกะเพาะปัสสาวะก็จะทำให้ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะขัด ถ้าก้อนไปกดลำไส้ใหญ่ส่วนปลายทำให้ปวดถ่วงและถ่ายอุจจาระลำบาก เมื่อมีการกระจายตัวของเซลล์มะเร็งในช่องท้องก็จะมีนำในท้อง ประจำเดือนผิดปกติ 

การวินิจฉัย 

 
1.
การตรวจภายใน อาจคลำพบก้อนในบริเวณท้องน้อย การคลำพบก้อนรังไข่ได้ในสตรีวัยหมดประจำเดือน ควรนึกถึงมะเร็งของรังไข่ไว้ด้วย (เพราะตามปกติวัยหมดประจำเดือน รังไข่จะฝ่อ) 
 
2.
การทำแพพสเมียร์จากในช่องคลอด ส่วนบนทางด้านหลัง อาจพบเซลล์มะเร็งของรังไข่ได้ 
 
3.
การตรวจด้วยเครื่องความถี่สูงอาจช่วยบอกได้ว่ามีก้อนในท้อง ในรายที่อ้วนหรือหน้าท้องหนามาก คลำด้วยมือตามปกติตรวจไม่พบ
 
4.
การผ่าตัดเปิดช่องท้อง และตรวจดู เป็นวิธีที่สำคัญ และแม่นยำที่สุดในการวินิจฉัยโรคอย่างแน่นอน สามารถขลิบหรือตัดเอาเนื้อมาตรวจหาชนิดของมะเร็ง และทราบถึงระยะของโรคด้วย 
 
5.
การวินิจฉัย การตรวจภายใน เอ็กซเรย์ หรือ ULTRASOUND หากพบก้อนที่น่าสงสัย ควรทำผ่าตัดทุกราย เพื่อนำก้อนเนื้อไปพิสูจน์ทางพยาธิวิทยา 

การรักษา 

การผ่าตัด เป็นวิธีแรกที่แพทย์จะเลือกทำการรักษา ถ้าไม่สามารถตัดออกได้หมด เนื่องจากโรคกระจายออกไปมากแล้ว แพทย์จะพยายามตัดออกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วจะให้การรักษาต่อด้วยเคมีบำบัด หรือรังสีบำบัด 

การรักษา โดยการผ่าตัดเป็นหลัก ปัจจุบันผลการรักษาอยู่ในเกณฑ์ดีแม้เป็นระยะลุกลามก็สามารถควบคุมโรคได้ระยะเวลานาน ผลการรักษาขึ้นกับระยะของโรค ดังนั้นการตรวจพบระยะแรกๆ เท่านั้น จึงจะรักษาให้หายได้ ข้อควรปฏิบัติ ตรวจภายในปีละครั้งหลังอายุ 40 ปี สังเกตุอาการผิดปกติ ความผิดปกติของประจำเดือน เช่น เริ่มขาดประจำเดือนก่อนวัยอันควร มีเลือดออกผิดปกติ ปวดท้องน้อยควรพบแพทย์ทันที

การป้องกัน 

เนื่องจากมะเร็งรังไข่ในระยะแรกๆ มักจะไม่มีอาการ อีกทั้งยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง การป้องกันจึงทำได้ยาก ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ รับการตรวจภายในหรือตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง โดยแพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง 

ข้อควรปฏิบัติ

 
1.
ควรได้รับการตรวจภายในปีละครั้ง หลังอายุ 40 ปี 
 
2.
หากมีความผิดปกติของประจำเดือน เช่น ขาดประจำเดือนก่อนวัยอันควร การมีเลือดออกผิดปกติ ปวดท้องน้อย หรือสงสัยมีก้อนบริเวณท้องน้อย ควรพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจภายใน 
 
       
    แหล่งข้อมูล : www.thailabonline.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
มะเร็งคืออะไร
 
การตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มแรก
 
มะเร็งเต้านม
 
มะเร็งปากมดลูก
 
มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.