มะเร็งช่องปาก |
---|
สาเหตุของมะเร็งช่องปาก
อาการและอาการแสดง อาการที่พบได้บ่อยคือ เกิดเป็นก้อนเนื้อขึ้นตามตำแหน่งต่างๆ ของอวัยวะส่วนนั้น อาจลุกลามเป็นแผลหรือไม่ก็ได้ แผลอาจมีลักษณะคล้ายดอกกะหล่ำ หรืออาจเป็นแผลลึกเรื้อรัง แผลจะโตขึ้นเรื่อยๆ ไม่หายด้วยการใส่ยาต่างๆ หรือการรักษาวิธีทั่วๆไป อาจมีเลือดออกได้ง่ายและถ้ามีการติดเชื้อด้วยก็จะมีกลิ่นเหม็น นอกจากนั้นถ้าเป็นโรคในระยะลุกลามจะคลำต่อมน้ำเหลืองที่คอได้ร่วมด้วย เป็นต่อมน้ำเหลืองที่โตโดยไม่เจ็บและมักอยู่ด้านเดียวกันกับก้อนเนื้อ การตรวจและระยะของโรค เมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ แพทย์จะให้การตรวจดังนี้
ระยะโรค มะเร็งช่องปากแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ
ความรุนแรงของโรค ความรุนแรงของโรคจะขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัยที่สำคัญได้แก่
วิธีการรักษา มะเร็งช่องปากมีวิธีการรักษาหลัก 3 วิธีคือ การผ่าตัด รังสีรักษา และเคมีบำบัด การผ่าตัด มักใช้รักษาโรคระยะที่ 1 ระยะที่ 2 หรือเริ่มๆ ระยะที่3 ที่ต่อมน้ำเหลืองยังมีขนาดเล็ก หลังการผ่าตัดแพทย์จะตรวจเนื้อที่ผ่าตัดออกไปทางพยาธิ ถ้ามีข้อบ่งชี้ก็จะให้การรักษาต่อเนื่องด้วยรังสีรักษาและอาจร่วมกับเคมีบำบัดด้วย รังสีรักษา อาจเป็นวิธีการรักษาโดยใช้รังสีอย่างเดียว หรือรังสีร่วมกับการผ่าตัดหรือรังสีร่วมเคมีบำบัด หรือรังสี ผ่าตัดและเคมีบำบัด ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับข้อบ่งชี้เป็นรายๆ แตกต่างกันไป ถ้ามีการฉายรังสีมักใช้ระยะเวลาประมาณ 6-7 สัปดาห์ ฉายรังสีวันละ1 ครั้ง ติดต่อกัน 5 วันตามวันทำการ อาจมีการรักษาทางรังสีโดยการใส่แร่ ซึ่งจะมีข้อบ่งชี้เฉพาะเจาะจงรักษาได้เฉพาะผู้ป่วยบางรายเท่านั้น ซึ่งแพทย์จะประเมินจากข้อบ่งชี้เช่นกัน เคมีบำบัด เป็นการรักษาที่มักใช้ร่วมกับการผ่าตัดและรังสี แต่ในผู้ป่วยบางรายที่ผ่าตัดและทำรังสีรักษาไม่ได้ ก็อาจใช้เคมีบำบัดเพียงวิธีการอย่างเดียวซึ่งมักเป็นกรณีการรักษาเพื่อประคับประคองและเช่นเดียวกับวิธีการรักษาอื่นๆ การใช้เคมีบำบัดก็ต้องมีข้อบ่งชี้แตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละรายไม่เหมือนกัน การตรวจรักษาเพื่อติดตามผลการรักษา ภายหลังรักษาครบแล้ว แพทย์จะยังนัดตรวจรักษาผู้ป่วยต่อเนื่องเป็นระยะๆ ไป โดยในปีแรกหลังครบการรักษาแพทย์มักจะนัดทุก 1-2 เดือน ในปีที่ 2-3 อาจนัดทุก 2-3 เดือน ปีที่ 3-ปีที่ 5 อาจนัดทุก 3-6 เดือน และภายหลัง 5 ปีไปแล้ว มักนัดทุก 6-12 เดือน ในการมาพบแพทย์ทุกครั้งแพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกายและอาจมีการตรวจอื่นๆ ตามข้อบ่งชี้แตกต่างในผู้ป่วยแต่ละรายไม่เหมือนกัน ผู้ป่วยควรพบแพทย์พร้อมญาติสายตรงหรือผู้ดูแลผู้ป่วย เพื่อร่วมกันพูดคุยปรึกษากับแพทย์ เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แหล่งข้อมูล : www.ramaclinic.com | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved. |